กามโรคเป็นแล้วรักษาหายได้ไหม

กามโรคเป็นแล้วรักษาหายได้ไหม?

กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก เดิมมีชื่อว่า กามโรค (venereal diseases) ในปัจจุบันมีการค้นพบโรคในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted infections, STIs) โรคที่สำคัญคือ ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี กามโรค (Venereal Disease)  คืออะไร กามโรค (Venereal Disease) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) หรือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เป็นโรคที่แพร่เชื้อกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทั้งการสอดใส่ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทำออรัลเซ็กส์ ซึ่งติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสผิวหนังที่เป็นโรค หรือสัมผัสเลือด อสุจิ เมือกในช่องคลอด และของเหลวอื่น ๆ ที่มาจากร่างกาย ทั้งนี้ กามโรคติดต่อกันได้โดยไม่ใช่จากการร่วมเพศเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการติดต่อทางสายเลือด การถ่ายเลือด การใช้เข็มหรือสิ่งของที่สัมผัสเลือด มูก หรือของเหลวของผู้ป่วยที่มีเชื้อ กามโรคเชื้อร้ายกลายพันธุ์ พัฒนาเป็น ซูเปอร์กามโรค 4 ชนิด 1….

| | | |

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ U=U คืออะไร U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U…

| | |

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยา PEP คืออะไร PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง การทานยาเป๊ป(PEP)  การทานยา เป๊ป(PEP)   จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง…

| | |

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่พบได้มากในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ จะมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรืออาการภาวะแทรกซ้อนระยะเริ่มต้น คือ ผิวหนังเป็นเริม งูสวัสดิ์ ฝี เชื้อรา ผื่น กลากเกลื้อน แผลเรื้อรัง ลิ้นเป็นฝ้าขาว แบบโรคเชื้อรา เป็นไข้ และไอเรื้อรัง แบบวัณโรคปอด เป็นไข้ ไอ หอบ แบบปอดอักเสบ เป็นไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง ก้มไม่ได้ (ก้มยาก) แบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขน ขา ชา อ่อนแรง แบบไขสันหลังอักเสบ ซีด มีจุดแดง จ้ำเขียว หรือเลือดออก แบบโรคเลือด ท้องเดินเรื้อรัง แบบมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน ที่อาจพบได้ และค่อนข้างเป็นอันตราย ได้แก่ อ่านบทความอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

|

โรคเริม โรคติดต่อทางผิวหนัง ที่เราป้องกันได้

เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยมักพบผู้ป่วยวัยหนุ่มสาว และวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเริมส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการของโรค  หากเป็นแล้วสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะเมื่อเป็นแล้วอาจทำให้การรักษาให้หายขาดได้ยาก โรคเริม (Herpes) คืออะไร เริม (Herpes) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆที่พบบ่อยมากบริเวณปาก และอวัยวะเพศแล้ว ทำให้มีลักษณะพุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด ซึ่งหายได้เอง แต่มักกำเริบซ้ำและเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมักมีอาการกำเริบได้บ่อยและรุนแรงกว่าปกติ   ระยะฟักตัวของโรค หลังจากได้รับเชื้อครั้งแรกจนกระทั่งแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 2-20 วัน สาเหตุการเกิดโรคเริม โดยเชื้อไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การติดเชื้อทั้ง 2  ชนิดนั้น สามารถเป็นปัจจัยสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกายได้เช่นกัน เมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น การติดเชื้อที่สมอง และอวัยวะสำคัญต่างๆ HSV-1 และ HSV-2 เหมือนกันหรือไม่ ?…

| | |

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยาเพร็พ (PrEP) ยา PrEP ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น การใช้ยาเพร็พ (PrEP) สาเหตุที่ต้องรับยาเพร็พ (PrEP) การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP) หรือยาต้านก่อนเสี่ยงนั้น  เพื่อให้ร่างกายมีระดับยาที่เพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยต้องจะรับประทานยาติดต่อกันทุกวันตลอดช่วงที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ และการใช้ยาในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มยาว่าตนไม่มีเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว  ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ (PrEP) ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์ การใช้ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 %…

|

ออรัล เซ็กส์ (Oral Sex) อย่างไรให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อโรคร้าย

ออรัล เซ็กส์ ถือเป็นวิธีการมีเพศสัมพันธ์ อย่างหนึ่งที่ทำให้คู่รักรู้สึกเพลิดเพลิน หากทั้งสองฝ่ายยินยอมพร้อมใจ แต่ในบางครั้งการทำออรัลเซ็กส์อาจนำมาซึ่งโรคร้ายต่าง ๆ ได้ เช่น โรคติดเชื้อเอชพีวี ซิฟิลิส หรือแม้กระทั่งโรคเอดส์ ดังนั้น ก่อนจะทำออรัล เซ็กส์ ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค และการทำออรัล เซ็กส์อย่างปลอดภัย ออรัล เซ็กส์ (Oral Sex) คือ อะไร ? การใช้ช่องปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น ในการกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศชาย อวัยวะเพศหญิง ทวารหนัก หรือส่วนที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณดังกล่าว เพื่อให้คู่นอนอีกฝ่ายเกิดอารมณ์ทางเพศ ซึ่งทำได้ทั้งคู่รักเพศเดียวกันและคู่รักต่างเพศ การออรัล เซ็กส์นั้นเป็นสิ่งที่ทั้งผู้ชาย และผู้หญิงต่างปรารถนาเป็นอย่างมาก บางคนเพียงแค่ถูก ออรัล เซ็กส์ก็สามารถเสร็จได้โดยไม่ต้องสอดใส่ ข้อดีของออรัล เซ็กส์ คืออะไร ไม่ทำให้ท้อง และทำให้ฝ่ายหญิง และฝ่ายชายพอใจในเพศรสมากขึ้น และมีคนกลุ่มไม่น้อยที่ชอบออรัล เซ็กส์ มากกว่าการมีเซ็กส์จริงๆ เสียอีก ข้อเสียของออรัล เซ็กส์ คืออะไร สามารถติดโรคได้ทุกโรค เนื่องจากการกลืนน้ำหล่อลื่นฝ่ายหญิง…

| | | |

15 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

ถึงแม้ว่าโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะมีมานานมากแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ทำให้ปัจจุบันต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี หรือการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง เอชไอวี คืออะไร เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์ คืออะไร เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ 1. โรคเอดส์ กับ เชื้อเอชไอวี เป็นคนละตัวกัน HIV คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ส่วนโรคเอดส์ คือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เชื้อเอชไอวีทำลาย 2. โรคเอดส์ ยังมีโอกาสรอดชีวิต…

รู้เท่าทันปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Headache)

อาการปวดศีรษะสามารถเกิดขึ้นก่อน และระหว่างมีกิจกรรมทางเพศได้ หรือตอนที่ถึงจุดสุดยอด หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ไปแล้วหลายชั่วโมงก็ยังปวดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยตัวเอง หรือตอนออรัล เซ็กส์ อาการอาจจะดูไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรที่จะปล่อยไว้ เพื่อเป็นปัญหาทำลายความสุขในชีวิตรักได้ การปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์(Sexual Headache)  คือ อาการปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์นั้น เป็นอาการปวดหัวที่หาได้ยาก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างการมีเซ็กส์และหลังจากการมีเซ็กส์ แต่โดยปกติแล้วมักจะเกิดขึ้นหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการสำเร็จความใคร่ โดยที่อาการปวดหัวนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรค หรือความผิดปกติของร่างกายอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว คุณอาจจะรู้สึกว่ามีอาการปวดตุบๆที่บริเวณศีรษะและลำคอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างที่กำลังทำกิจกรรมทางเพศ หรืออาจจะมีอาการปวดหัวจี๊ดขึ้นมาอย่างรุนแรงขณะสำเร็จความใคร่ อาการปวดมักจะมีอาการปวดหัวอย่างหนักนานไม่เกิน 1 วัน และอาการปวดเบาๆ อีกไม่เกิน 3 วัน อาการปวดนี้จะคล้ายกันอาการคล้ายกับอาการปวดหัวไมเกรน สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ และพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เช็คอาการผิดปกติ หากมีอาการปวดศีรษะ ปวดตื้อๆ บริเวณศีรษะ และลำคอ มักเกิดเมื่อมีความตื่นเต้น และแรงกระตุ้นทางเพศที่สูงขึ้นในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดตั้งแต่เริ่มเกิดขึ้นก่อน ระหว่างทำกิจกรรมทางเพศ หรือเสร็จการทำกิจกรรทางเพศแล้วนั้น โดยอาจปวดเพียงครู่เดียว หรือต่อเนื่องกันหลายนาที หลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวัน  ผู้ที่มีความเสี่ยงอาการปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์ ทำไมมีเพศสัมพันธ์แล้วถึงปวดหัว สาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละคน แต่สาเหตุที่พบกันบ่อยๆ ก็จะมีประมาณนี้ ทำไมปวดหัวตอนช่วยตัวเอง…

|

ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 กับ HIV-2

เชื้อไวรัสเอชไอวี  จัดเป็นไวรัสชนิด RNA ใน subfamily Lentivirinae มีเอนไซม์ที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ เอนไซม์รีเวอร์สทรานสคริพเตส (Reverse transcriptase, RT)  สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอชไอวี สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นเชื้อที่สามารถกลายพันธุ์(Mutatuion)ได้รวดเร็ว ในร่างกายของผู้ติดเชื้อคนๆหนึ่งจะพบเชื้อไวรัสเอชไอวีสายพันธุ์ต่างๆ ได้หลายชนิด จึงต้องมีการจัดจำแนกชนิดของเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยใช้ข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นเกณฑ์ในการคัดกรอง โดยสามารถแบ่งออกเป็น types, groups และ subtypes เชื้อไวรัสเอชไอวีมี 2 ชนิด ได้แก่ HIV type 1 (HIV-1) และ HIV type 2 (HIV-2) ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 กับ HIV-2 การแพร่เชื้อ HIV-2 ส่งต่อได้ยากกว่า HIV-1 เพราะรูปแบบการแพร่เชื้อ HIV-2 ที่พบบ่อยที่สุดคือ  การวินิจฉัย ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่าง HIV-1 และ HIV-2 หมายความว่า หากบุคคลทำการทดสอบ…