ทำความเข้าใจก่อนใช้ยาเพร็พ และยาเป๊ป
| | |

ทำความเข้าใจก่อนใช้ยาเพร็พ และยาเป๊ป

สิ่งสำคัญของยาต้านไวรัสเอชไอวีคือ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งก่อนและหลังการสัมผัสเชื้อ หากพูดถึงวิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นวิธีป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น แต่ต้องใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวี PrEP และPEP  ว่าทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี PrEP และ PEP คืออะไร? เพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ หรือเป็นการใช้ยาเพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนจะมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อ เป๊ป (PEP- Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบที่เพิ่งได้สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง PrEP & PEP ทำงานอย่างไร? กลไกของยา PrEP จะไปสะสมอยู่ในเม็ดเลือดขาวในเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะที่เป็นช่องทางเข้าของเชื้อเอชไอวี เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนัก เยื่อบุอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ฯลฯ เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าไปในร่างกายในช่องทางดังกล่าว เชื้อก็จะถูกยาที่สะสมอยู่ก่อนหน้านั้นยับยั้งไม่ให้แบ่งตัว…

โรคเอดส์ (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome)

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าผิดว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอด์ เป็นโรคเดียวกัน จริงๆ แล้วผู้ที่ได้รับเชื้อเชื้อเอชไอวี ระยะแรกจะยังไม่เป็นโรคเอดส์จนผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จนผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ จึงจะเรียกว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคเอดส์คืออะไร? โรคเอดส์ (AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndromes)       A = Acquired    หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด       I = Immune     หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย       D = Deficiency  หมายถึง ความเสื่อมลง       S = Syndrome   หมายถึง กลุ่มอาการ หรืออาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะระบบใดระบบหนึ่ง โรคเอดส์  คือ กลุ่มอาการของโรคฉวยโอกาส เกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าไปจนถึงระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ เชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลดลง จนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย  ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนที่เรียกว่า…

| | |

 ยาต้านไวรัสเอชไอวี

เอชไอวี คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคเอดส์เสมอไป หากมีการติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกายผู้ติดเชื้อตลอดไป  ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่มียาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาได้เร็ว กินยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อเอชไอวีนี้ไปยังผู้อื่นได้ด้วย ยาต้านไวรัส HIV คืออะไร ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน) ยาต้านหรือยารักษา HIV มีกี่แบบ ปัจจุบันยาต้าน ยารักษา…

| | |

มารู้จักเอดส์ กับระยะของการติดเชื้อ และผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสังเกตตนเองอย่างไร

ทุกคนรู้ดีว่า “เอดส์” คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีในการรักษาให้หายขาด แต่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงเพื่อต่อสู้กับโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเข้ามาหา ปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคนี้คือ การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคู่โดยไม่ป้องกันด้วยถุงยางอนามัย หรือห่วงอนามัย, การใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเชื้อเอดส์นี้จะไม่ติดต่อทางน้ำลายหรือการสัมผัสภายนอก อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่มีพฤติกรรมเสี่ยง การรู้ว่าเอดส์ระยะแรก และระยะถัด ๆ ไปเป็นอย่างไร จะช่วยด้านการดูแลตนเองอย่างดี เอดส์ระยะแรก แสดงอาการอย่างไร เอดส์ระยะแรกจะเรียกว่า ระยะเฉียบพลัน คือ อาการของร่างกายที่ได้รับเชื้อ HIV เข้ามาแล้วราว ๆ 2-3 สัปดาห์ จนเริ่มเกิดการฟักตัว สังเกตง่าย ๆ คือ มีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลียมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองบวม มีผื่นแดงและนูนที่ผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อ สาเหตุที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาเหล่านี้ขึ้นเพราะต้องการตอบสนองกับสิ่งแปลกปลอมภายนอกที่เข้ามาหา ประกอบกับเมื่อเชื้อ HIV เข้ามาตอนแรก ๆ จะแพร่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวมีปริมาณลดลงฉับพลัน ระยะนี้ถือว่าเป็นอันตรายในการแพร่ไปสู่ผู้อื่นเนื่องจากยังไม่รู้ว่าตนเองเป็นอะไร เมื่ออาการต่าง ๆ เริ่มดีขึ้นแสดงว่าการแพร่ของไวรัสอยู่ในสภาวะคงที่ เม็ดเลือดขาวก็จะค่อย…