รักษาหูดข้าวสุก ด้วยตัวเอง ทำได้หรือไม่
หลายคนสงสัยว่าการ รักษาหูดข้าวสุก นั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองจริงหรือเปล่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทำได้ยากเพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าติดเชื้อมาตอนไหน และลักษณะของตุ่มก็มีความคล้ายคลึงกับโรคผิวหนังชนิดอื่นด้วย หากคิดจะ รักษาหูดข้าวสุก ควรทำการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้โดยตรงจะดีที่สุด ซึ่งวันนี้ เราจะมาแนะนำเรื่องเกี่ยวกับการรักษาหูดข้าวสุกและการป้องกันที่คุณควรรู้เพื่อจะได้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ครับ หูดข้าวสุก คือโรคอะไรกันแน่? โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Molluscum Contagiosum Virus : MCV (มอลลัสคุม คอนทาจิโอซุมไวรัส) เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มพอกซ์ไวรัส (Poxvirus) ที่มักพบในบริเวณผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น โดยจะแบ่งออกเป็นไวรัส MCV 4 ชนิดย่อย แต่ชนิดที่ 1 จะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหูดข้าวสุกได้มากกว่า 95% แลไวรัสนี้ไม่มีผลต่อระบบภายในร่างกาย รวมไปถึงไม่แพร่กระจายโดยการจามหรือไอ ถือเป็นโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อกันได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งเชื้อจะเข้าไปในบริเวณผิวหนังที่เป็นแผล ลอก แตก จนทำให้เกิดตุ่มเนื้อ และมีรอยนูนขนาดเล็กทั่วร่างกาย แต่จะไม่ขึ้นตุ่มที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เหมือนกับโรคซิฟิลิส และไม่ได้ส่งผลต่อระบบอวัยวะภายในมากนัก อาการของโรคหูดข้าวสุก ถึงแม้ว่า โรคนี้จะไม่ได้มีอาการที่รุนแรง แต่ทุกคนก็ควรได้รับการ รักษาหูดข้าวสุก ระยะฟักตัวตั้งแต่ได้รับเชื้อไวรัสนี้มาจะเกิดอาการประมาณ 14 วันขึ้นไป ถึง 6 เดือน โดยอาการที่อาจสังเกตพบได้ มีดังต่อไปนี้…