ถุงยางอนามัย ป้องกันโรค ป้องกันลูก
| |

ถุงยางอนามัย ป้องกันโรค ป้องกันลูก

ถุงยางอนามัยมีความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิด ในปัจจุบัน มีถุงยางอนามัยให้เลือกใช้ ทั้งแบบสำหรับสตรีและแบบสำหรับบุรุษ  ถุงยางอนามัยคือ? ถุงยางอนามัย (Condom) มาจากภาษาละติน แปลว่า ภาชนะที่รองรับ ทำด้วยวัสดุจากยางพารา หรือโพลียูรีเทน โดยฝ่ายชายเป็นฝ่ายใช้สวมครอบอวัยวะเพศของตนเอง  และเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้เป็นอันดับต้นๆ สำหรับช่วยป้องกันการคุมกำเนิด และช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ซึ่งปัจจุบันมีการผลิต และพัฒนาถุงยางอนามัยออกสู่ตลาดจำนวนมาก ในหลากหลายแบบให้เลือก ทั้งที่มีสีสัน ผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ มีกลิ่น และรสผลไม้ รวมทั้งมีรูปทรงที่แปลกตามากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบเน้นวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป ทำไมจึงต้องใส่ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพราะ ถุงยางอนามัยจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ อย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อการคุมกำเนิด หรือเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน หูดหงอนไก่ เชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นต้น  ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัย ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ซึ่งสามารถป้องกันได้มากถึงร้อยละ 98% ชนิดของถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยที่มีการผลิตจำหน่ายมี 3 ชนิด โดยแบ่งตามวัสดุที่ใช้ ได้แก่ 1) ชนิดที่ทำจากลำไส้สัตว์ (Skin condom) วัสดุที่ใช้ผลิตเป็นส่วนของลำไส้ส่วนล่างของแกะ ที่เรียกว่า…

โรคหนองใน สาเหตุ, อาการ, การรักษา

โรคหนองใน สาเหตุ, อาการ, การรักษา

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน   โดยสามารแบ่งประเภทเชื้อที่เป็นต้นเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น ๆ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส  เชื้อรา พยาธิ เป็นต้น โรคหนองใน (Gonorrhoea) คืออะไร? โรคหนองใน หรือโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้บ่อยมากที่สุดอีกโรคหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย   เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า    ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoea)  ระยะฟักตัวของโรค หลังจากที่ได้รับเชื้อ ก็มักจะแสดงอาการภายใน 2 – 10 วัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะแสดงอาการภายใน 5 วัน สาเหตุของโรคหนองใน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า โกโนค็อกคัส (Gonococcus)…

ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีผลกระทบต่อทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อบางอย่างสามารถรักษาได้เพื่อให้คุณ และคู่นอนของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรง และคุณเองสามารถป้องกันตัวเองจากการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ STI  คืออะไร? โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections; STI)  คือ การติดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยผ่านการจูบ, การสัมผัสหรือถูอวัยวะเพศ, การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (การใช้ปากกับอวัยวะเพศ), การร่วมเพศ (องคชาตในช่องคลอด องคชาตในทวารหนัก), การใช้เซ็กซ์ทอย รวมถึง การติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด ใครเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ? เมื่อไหร่ที่ควรมาตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์? จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อสงสัยว่าอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ? เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเพิ่งมีความเสี่ยงในการติดโรค ควรรีบปรึกษาแพทย์ และงดการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นจนกว่าจะทราบผลการตรวจ ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย และแนะนำให้คู่นอนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจรักษาด้วย  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย และไม่หาย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาไม่หายขาด วิธีการป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำอย่างไรได้บ้าง อ่านบทความอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

มีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย
| |

มีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย

เรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญของทุกคน การป้องกันก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน การมีเซ็กส์ยังไงให้ปลอดภัย เพื่อการป้องกัน และลดความเสี่ยงการติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์ Safe Sex คืออะไร  คือ การมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์กันอย่างปลอดภัย ซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่ามีเพียงแค่การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยมีมากกว่านั้น อย่างเช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าการช่วยตัวเอง ซึ่งวิธีอย่างหนึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ร้ายแรง หรือน่ารังเกียจ ทำไมต้อง Safe Sex?  การ Safe Sex หรือการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี, โรคเอดส์, ซิฟิลิส, หนองใน ฯลฯ หรือช่วยในการคุมกำเนิด ตั้งท้องในขณะที่ยังไม่พร้อม  การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นไปได้หรือไม่  เป็นไปได้ หากเรามีความรู้ และการเข้าใจในการมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์ อย่างถูกต้อง ทำให้เรามีเซ็กส์อย่างปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Safe Sex มีแบบไหนบ้าง? แบบที่ 1 ก่อนที่จะมี Sex กับใครได้โปรดตรวจเลือดเพื่อความชัวร์!  แม้ว่าเราจะมั่นใจในตัวเอง…

การป้องกันการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส
| | |

การป้องกันการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส

โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ป่วยนั้นถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานต่อโรค หรือการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรโตซัว ซึ่งปกติไม่ทำให้เกิดโรคในคนที่มีสุขภาพปกติ แต่สามารถเกิดได้กับผู้ป่วย บางครั้งอาจรุนแรงเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โรคติดเชื้อฉวยโอกาส คืออะไร โรคติดเชื้อฉวยโอกาส Opportunistic Infections คือ การติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคที่จะไม่ค่อยเกิดกับคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์ดี แต่สามารถทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้  โดยติดเชื้อที่เกิดจาก แบคทีเรีย , เชื้อรา , ปรสิต หรือไวรัส  ประเภทของการติดเชื้อฉวยโอกาส เชื้อโรคหลากหลายชนิดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อฉวยโอกาสซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้ แบคทีเรีย เชื้อรา ปรสิต ไวรัส การติดโรคฉวยโอกาสที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ CD4 อยู่ในระดับต่าง ๆ จำนวน CD4 อยู่ในระดับ 200-500/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ100-200/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ50-100/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ < 50…

ตรวจเอชไอวีไม่เจอเป็นเพราะอะไรได้บ้าง
| | | |

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง?

 การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเราได้ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน 1. การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง  หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรดำเนินการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิกได้ทันที การตรวจแบบคัดกรองนี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2. การตรวจยืนยัน คือ การตรวจยืนยัน อีกครั้งหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมาแล้ว และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี  ทำไมถึงต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน…

แนวทางการรักษาในปัจจุบัน
| | |

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์กับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ การติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นต้องมีอาการเอดส์ หากรู้เร็วด้วย การตรวจเลือด และรักษาเร็วด้วยยาต้านไวรัส โดยสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยที่สุด คือ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ สัมผัสเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่น้ำนมแม่ก็สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน การติดเชื้อเอชไอวีแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน คือ ระยะที่รับเชื้อมาใหม่ๆ หรือช่วงระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อมา โดยผู้ติดเชื้อบางส่วนจะมีอาการคล้ายไข้หวัด มีอาการ มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่น และปวดหัว อาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ…

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases)

โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งโดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แล้วทำให้เกิดโรค ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก ทุพลภาพและอาจตายได้ ซึ่งมผลกระทบต่อภาวะสุขภาพกาย และจิตใจและสุขภาพที่รุนแรงต่อทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กได้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases: STD) คือกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน สาเหตุของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการแบบใดสงสัยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์   อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินหรือฉีดยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง และให้ความสำคัญกับการพาคู่นอนมารับการตรวจรักษา ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต เช่น เริม การรักษาจะช่วยควบคุมอาการโรคได้ แต่การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอชพีวี ร่างกายอาจกำจัดเชื้อได้เอง หากกำจัดไม่ได้เชื้ออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต  การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์   การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใครควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจจากอะไร? การตรวจสามารถทำได้หลายวิธี แพทย์จะเลือกการตรวจที่เหมาะสมที่สุดจากการซักประวัติ ซึ่งวิธีตรวจหลักๆ จะมีดังนี้ อ่านบทความอื่นๆ…

ทำความเข้าใจก่อนใช้ยาเพร็พ และยาเป๊ป
| | |

ทำความเข้าใจก่อนใช้ยาเพร็พ และยาเป๊ป

สิ่งสำคัญของยาต้านไวรัสเอชไอวีคือ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งก่อนและหลังการสัมผัสเชื้อ หากพูดถึงวิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นวิธีป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น แต่ต้องใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวี PrEP และPEP  ว่าทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี PrEP และ PEP คืออะไร? เพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ หรือเป็นการใช้ยาเพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนจะมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อ เป๊ป (PEP- Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบที่เพิ่งได้สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง PrEP & PEP ทำงานอย่างไร? กลไกของยา PrEP จะไปสะสมอยู่ในเม็ดเลือดขาวในเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะที่เป็นช่องทางเข้าของเชื้อเอชไอวี เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนัก เยื่อบุอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ฯลฯ เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าไปในร่างกายในช่องทางดังกล่าว เชื้อก็จะถูกยาที่สะสมอยู่ก่อนหน้านั้นยับยั้งไม่ให้แบ่งตัว…

แผลริมอ่อน (Chancroid) 
|

แผลริมอ่อน (Chancroid) 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน  โรคแผลริมอ่อน (Chancroid)  คืออะไร แผลริมอ่อน หรือ ซิฟิลิสเทียม (Chancroid, Soft chancre, Ulcus molle หรือ Weicher Schanker)  เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Ducreyi  เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชาย และเพศหญิง จะทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ และต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตติดกันเป็นพืดและเจ็บ ซึ่งโรคนี้ติดต่อได้ง่าย แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง หากไม่รักษาจะเป็นสาเหตให้เกิดการติดเชื้อ HIV ได้ง่าย  หมายเหตุ  โรคแผลริมอ่อน บางครั้งเรียกว่า โรคซิฟิลิสเทียม เนื่องจากทำให้เกิดแผลได้เช่นเดียวกันกับโรคซิฟิลิส แต่จะแตกต่างกันตรงที่แผลริมอ่อน (ซิฟิลิสเทียม) จะมีอาการเจ็บ และปวด แต่แผลซิฟิลิสจะไม่เจ็บและปวด ระยะฟักตัวของโรค หลังจากที่ได้รับเชื้อ อยู่ในช่วง 1 วัน-2 สัปดาห์ แต่เฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 5-7 วัน…