PEP ยาเป็ปกับสิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มทาน
| |

PEP ยาเป็ปกับสิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มทาน

ในด้านของสุขภาพ ความรู้ไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญเพียงอย่างเดียว แต่มักเป็นสิ่งที่เราจะสามารถป้องกันความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ในโลกนี้มีสิ่งที่สำคัญแต่มักถูกมองข้ามไปเช่น PEP คือสิ่งที่มาพร้อมกับการป้องกันในปัญหาสุขภาพระดับโลกที่สำคัญนั่นคือเอชไอวี เป็ป ยังคงเป็นสิ่งที่จะสามารถต่อสู้กับเอชไอวีได้โดยให้การช่วยเหลือสำหรับบุคคลที่อาจได้รับการสัมผัสกับเชื้อไวรัส เป็ป เป็นวิธีการดูแลสุขภาพในช่วงเวลาหลังจากสัมผัสเชื้อเอชไอวีหรือหลังเกิดความเสี่ยง

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U
| | | |

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ U=U คืออะไร U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U…

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี
| | |

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยา PEP คืออะไร PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง การทานยาเป๊ป(PEP)  การทานยา เป๊ป(PEP)   จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง…

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่พบได้มากในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
| | |

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่พบได้มากในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ จะมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรืออาการภาวะแทรกซ้อนระยะเริ่มต้น คือ ผิวหนังเป็นเริม งูสวัสดิ์ ฝี เชื้อรา ผื่น กลากเกลื้อน แผลเรื้อรัง ลิ้นเป็นฝ้าขาว แบบโรคเชื้อรา เป็นไข้ และไอเรื้อรัง แบบวัณโรคปอด เป็นไข้ ไอ หอบ แบบปอดอักเสบ เป็นไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง ก้มไม่ได้ (ก้มยาก) แบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขน ขา ชา อ่อนแรง แบบไขสันหลังอักเสบ ซีด มีจุดแดง จ้ำเขียว หรือเลือดออก แบบโรคเลือด ท้องเดินเรื้อรัง แบบมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน ที่อาจพบได้ และค่อนข้างเป็นอันตราย ได้แก่ อ่านบทความอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเอชไอวี
| | |

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยาเพร็พ (PrEP) ยา PrEP ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น การใช้ยาเพร็พ (PrEP) สาเหตุที่ต้องรับยาเพร็พ (PrEP) การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP) หรือยาต้านก่อนเสี่ยงนั้น  เพื่อให้ร่างกายมีระดับยาที่เพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยต้องจะรับประทานยาติดต่อกันทุกวันตลอดช่วงที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ และการใช้ยาในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มยาว่าตนไม่มีเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว  ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ (PrEP) ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์ การใช้ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 %…

15 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์
| | | |

15 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

ถึงแม้ว่าโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะมีมานานมากแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ทำให้ปัจจุบันต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี หรือการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง เอชไอวี คืออะไร เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์ คืออะไร เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ 1. โรคเอดส์ กับ เชื้อเอชไอวี เป็นคนละตัวกัน HIV คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ส่วนโรคเอดส์ คือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เชื้อเอชไอวีทำลาย 2. โรคเอดส์ ยังมีโอกาสรอดชีวิต…

มีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย
| |

มีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย

เรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญของทุกคน การป้องกันก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน การมีเซ็กส์ยังไงให้ปลอดภัย เพื่อการป้องกัน และลดความเสี่ยงการติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์ Safe Sex คืออะไร  คือ การมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์กันอย่างปลอดภัย ซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่ามีเพียงแค่การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยมีมากกว่านั้น อย่างเช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าการช่วยตัวเอง ซึ่งวิธีอย่างหนึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ร้ายแรง หรือน่ารังเกียจ ทำไมต้อง Safe Sex?  การ Safe Sex หรือการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี, โรคเอดส์, ซิฟิลิส, หนองใน ฯลฯ หรือช่วยในการคุมกำเนิด ตั้งท้องในขณะที่ยังไม่พร้อม  การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นไปได้หรือไม่  เป็นไปได้ หากเรามีความรู้ และการเข้าใจในการมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์ อย่างถูกต้อง ทำให้เรามีเซ็กส์อย่างปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Safe Sex มีแบบไหนบ้าง? แบบที่ 1 ก่อนที่จะมี Sex กับใครได้โปรดตรวจเลือดเพื่อความชัวร์!  แม้ว่าเราจะมั่นใจในตัวเอง…

การป้องกันการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส
| | |

การป้องกันการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส

โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ป่วยนั้นถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานต่อโรค หรือการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรโตซัว ซึ่งปกติไม่ทำให้เกิดโรคในคนที่มีสุขภาพปกติ แต่สามารถเกิดได้กับผู้ป่วย บางครั้งอาจรุนแรงเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โรคติดเชื้อฉวยโอกาส คืออะไร โรคติดเชื้อฉวยโอกาส Opportunistic Infections คือ การติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคที่จะไม่ค่อยเกิดกับคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์ดี แต่สามารถทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้  โดยติดเชื้อที่เกิดจาก แบคทีเรีย , เชื้อรา , ปรสิต หรือไวรัส  ประเภทของการติดเชื้อฉวยโอกาส เชื้อโรคหลากหลายชนิดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อฉวยโอกาสซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้ แบคทีเรีย เชื้อรา ปรสิต ไวรัส การติดโรคฉวยโอกาสที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ CD4 อยู่ในระดับต่าง ๆ จำนวน CD4 อยู่ในระดับ 200-500/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ100-200/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ50-100/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ < 50…

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง?
| | | |

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง?

 การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเราได้ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน 1. การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง  หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรดำเนินการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิกได้ทันที การตรวจแบบคัดกรองนี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2. การตรวจยืนยัน คือ การตรวจยืนยัน อีกครั้งหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมาแล้ว และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี  ทำไมถึงต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน…

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์กับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน
| | |

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์กับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ การติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นต้องมีอาการเอดส์ หากรู้เร็วด้วย การตรวจเลือด และรักษาเร็วด้วยยาต้านไวรัส โดยสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยที่สุด คือ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ สัมผัสเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่น้ำนมแม่ก็สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน การติดเชื้อเอชไอวีแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน คือ ระยะที่รับเชื้อมาใหม่ๆ หรือช่วงระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อมา โดยผู้ติดเชื้อบางส่วนจะมีอาการคล้ายไข้หวัด มีอาการ มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่น และปวดหัว อาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ…