กามโรคเป็นแล้วรักษาหายได้ไหม

กามโรคเป็นแล้วรักษาหายได้ไหม?

กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก เดิมมีชื่อว่า กามโรค (venereal diseases) ในปัจจุบันมีการค้นพบโรคในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted infections, STIs) โรคที่สำคัญคือ ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี

กามโรค (Venereal Disease)  คืออะไร

กามโรค (Venereal Disease) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) หรือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เป็นโรคที่แพร่เชื้อกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทั้งการสอดใส่ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทำออรัลเซ็กส์ ซึ่งติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสผิวหนังที่เป็นโรค หรือสัมผัสเลือด อสุจิ เมือกในช่องคลอด และของเหลวอื่น ๆ ที่มาจากร่างกาย ทั้งนี้

กามโรคติดต่อกันได้โดยไม่ใช่จากการร่วมเพศเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการติดต่อทางสายเลือด การถ่ายเลือด การใช้เข็มหรือสิ่งของที่สัมผัสเลือด มูก หรือของเหลวของผู้ป่วยที่มีเชื้อ

กามโรคเชื้อร้ายกลายพันธุ์ พัฒนาเป็น ซูเปอร์กามโรค 4 ชนิด

1. เชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส (Neisseria meningitidis)

ไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคติดเชื้อเมนิงโกค็อกคัส หรือไข้กาฬหลังแอ่น  บ่อยครั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ เชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส อยู่ในลำคอและโพรงจมูกทางด้านหลัง การแพร่เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวไปยังคู่นนอน ผ่านการทำออรัลเซ็กส์ การจูบแบบดูดดื่ม หรือการกระทำอื่น ๆ ที่ถ่ายทอดเชื้อจากละอองเสมหะ

2. เชื้อไมโคพลาสมา เจนิตาเลียม (Mycoplasma genitalium)

ไมโคพลาสมา เจนิตาเลียม เป็นหนึ่งในเชื้อแบคทีเรียขนาดเล็กที่สุด โดยผู้ติดเชื้อไมโคพลาสมา เจนิตาเลียม ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการใด ๆ อย่างไรก็ตาม เชื้อชนิดนี้สามารถทำให้เกิดอาการคล้ายโรคหนองในเทียม (Chlamydia) และโรคหนองในแท้ (Gonorrhoea) ซึ่งก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่ท่อปัสสาวะ และปากมดลูก และอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ส่งผลให้มันอาจทำให้เกิดภาวะเป็นหมัน มีบุตรยาก การแท้งบุตร และทารกคลอดก่อนกำหนด 

3. โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา เฟล็กซ์เนอรี (Shigella flexneri)

โรคบิดไม่มีตัว หรือโรคบิดชิเกลลา แพร่สู่กันผ่านการสัมผัสทางตรงและทางอ้อมกับอุจจาระมนุษย์ ผู้ติดเชื้อจะมีอาการปวดท้องรุนแรง และถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด 

โรคฝีมะม่วง หรือกามโรคต่อมน้ำเหลือง

4. ฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum หรือ LGV)

โรคฝีมะม่วง หรือกามโรคต่อมน้ำเหลือง เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย ทราโคมาติส ( Chlamydia Trachomatis) ผู้ป่วยโรคฝีมะม่วง ในช่วงเริ่มแรกจะมีตุ่มนูน ใส หรือ แผลขนาดเล็กเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ และหายไปเองภายใน 2-3 วันโดยที่ผู้ป่วยมักไม่ทันได้สังเกตพบ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบจะบวมโตติดกันเป็นก้อนฝีขนาดใหญ่ และเจ็บมาก ตรงกลางเป็นร่องของพังผืดคล้ายร่องของมะม่วงอกร่อง จึงเรียกว่า ฝีมะม่วง ซึ่งอาจเกิดโรคเพียงข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ผิวหนังบริเวณที่เป็นฝีจะมีอาการอักเสบมีลักษณะบวมแดงร้อนร่วมด้วย บางคนอาจปวดฝีมากจนเดินไม่ถนัด บางครั้งจะทำให้อัณฑะบวม หรือบริเวณปากช่องคลอดบวมมาก ในผู้มีอาการหนักจะมีอาการอักเสบที่ช่องทวารหนักอย่างมาก (Ulcerative proctitis) มีอาการปวดก้น อยากถ่ายอุจจาระตลอดเวลา มีหนองไหลทางรูทวาร และมีเลือดออกทางทวารหนักได้

อาการของกามโรค

ผู้ที่ติดเชื้อกามโรคจะแสดงอาการของโรคแตกต่างกันไปตามชนิดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ได้รับเชื้อ ซึ่งอาจปรากฏอาการของโรคที่ส่งผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์อย่างเดียว หรือส่งผลต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยแบ่งมี 3 ระยะ

  • ระยะที่หนึ่ง เชื้อที่เข้าสู่ร่างกายทางรอยแผล รอยถลอก บริเวณที่ติดเชื้อจะเกิด Trombolymphangitis กลายเป็นตุ่มหรือแผลตื้นๆ
  • ระยะที่สอง เรียกว่า inguinal syndrome เชื้อจะลุกลามไปตามท่อน้ำเหลือง ทำให้เกิดการอักเสบที่ต่อมน้ำเหลือง inguinal และ femeral กลายเป็นฝีมะม่วง ระยะนี้ มักพบผู้ป่วยเข้าพบแพทย์มากที่สุด ซึ่งแพทย์สามารถแยกแยะโรคฝีมะม่วง และแผลริมอ่อนได้ง่ายขึ้น
  • ระยะที่สาม เรียกว่า anogenitorectal sybdrome ในระยะท้ายของโรคเกิดขึ้นใน 1-2 ปี ให้หลัง ซึ่งการอักเสบจะสิ้นสุดลง

และบางรายก็อาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ เลย โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ติดเชื้อกามโรคอาจมีอาการดังนี้

  • มีตุ่ม หรือแผลขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ในช่องปาก หรือทวารหนัก
  • เจ็บหรือแสบร้อนขณะปัสสาวะ
  • ผู้หญิงมีตกขาวออกมาก หรือมีกลิ่นผิดปกติ ส่วนผู้ชายพบน้ำหรือหนองออกมาจากปลายองคชาต
  • รู้สึกเจ็บระหว่างสอดใส่ขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมโตและทำให้รู้สึกแสบ โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบ
  • เจ็บหรือปวดบริเวณท้องน้อย
  • ไข้ขึ้น ปวดเมื่อย และรู้สึกหนาวเย็น
  • ระคายเคืองผิวบริเวณอวัยวะเพศอย่างมาก และมีผื่นขึ้นตามมือ แขน และเท้า
  • น้ำหนักลด

ผู้ติดเชื้อกามโรคจะมีอาการดังกล่าวหลังจากได้รับเชื้อมาภายใน 2-3 วัน บางรายอาจใช้เวลาเป็นปีจึงจะแสดงอาการของโรค ซึ่งขึ้นอยู่กับระบบการทำงานของร่างกายผู้ป่วย ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อกามโรคที่ไม่แสดงอาการในทันที อาการของโรคอาจแสดงภายหลัง รวมทั้งอาจแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ ผู้ที่ได้รับเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงควรไปพบแพทย์ทันทีหลังได้รับเชื้อจากการร่วมเพศและเมื่อเกิดอาการของโรค

สาเหตุของกามโรค

สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ปรสิต และไวรัส นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นช่องทางแพร่กระจายการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี โรคบิดจากเชื้อชิเกลล่า (Shigella) หรือโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไกอาร์เดีย (Giardia Intestinalis)

ปัจจัยเสี่ยงทำให้ติดเชื้อกามโรค ได้แก่

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ผู้ที่ไม่สวมถุงยางอนามัยเมื่อต้องสอดใส่ตอนร่วมเพศย่อมเสี่ยงติดเชื้อกามโรคสูง ซึ่งรวมไปถึงผู้ที่ใช้ถุงยางอนามัยไม่ถูกต้องหรือไม่ใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การทำออรัลเซ็กส์ (Oral Sex) ก็เสี่ยงติดเชื้อได้เช่นกันหากไม่ใส่ถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางป้องกันการติดเชื้อสำหรับทำออรัลเซ็กส์ (Dental Dam)
  • ร่วมเพศกับคู่นอนหลายคน ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคนมักเสี่ยงติดเชื้อกามโรค โดยผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ย่อมเสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง
  • มีประวัติป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีประวัติป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ย่อมแพร่เชื้อไปยังคู่นอนของตนได้ง่าย
  • ถูกขืนใจ ผู้ที่ถูกบังคับให้ร่วมเพศหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศนั้น มีโอกาสเสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ผู้ที่ถูกขืนใจควรได้รับการตรวจและรับการรักษาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
  • ร่วมเพศทางทวารหนัก ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กันทางทวารหนักและไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกันนั้น มีโอกาสเสี่ยงรับเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • ใช้สารเสพติด ผู้ที่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่นเสี่ยงติดเชื้อจากโรคทางเพศสัมพันธ์หลายโรค ได้แก่ เชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้สารเสพติดมักมีพฤติกรรมเสี่ยงซึ่งนำไปสู่การติดต่อกามโรค

การวินิจฉัยกามโรค

การตรวจกามโรคจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคใด โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติการป่วยหรือได้รับเชื้อกามโรค  และยังช่วยระบุสาเหตุการติดเชื้อที่เกิดขึ้นได้ โดยแพทย์อาจเจาะเลือด เก็บตัวอย่างปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งเพื่อนำไปตรวจในห้องทดลอง

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับเชื้อแต่ไม่แสดงอาการของโรคก็อาจต้องได้รับการตรวจคัดกรองด้วย ซึ่งบุคคลต่อไปนี้อาจเข้ารับการตรวจเพื่อคัดกรองการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทุกราย สามารถเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี
  • สตรีมีครรภ์ต้องได้รับการตรวจเพื่อคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส ซึ่งการตรวจคัดกรองโรคเหล่านี้ แพทย์มักตรวจในการฝากครรภ์ครั้งแรก นอกจากนี้ สตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงติดเชื้อสูงอาจต้องได้รับการตรวจหนองในแท้และไวรัสตับอักเสบซีระหว่างตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 ครั้ง
  • ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์หรืออายุ 21 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อตรวจภายใน ซึ่งจะช่วยตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับปากมดลูกอย่างโรคมะเร็งหรือการติดเชื้ออันทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ
  • ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 25 ปี ซึ่งเสี่ยงติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ควรได้รับการตรวจหนองในเทียม โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอดเพื่อนำไปตรวจ
  • ผู้ชายที่ร่วมเพศกับเพศเดียวกันเสี่ยงติดเชื้อกามโรคได้สูงกว่ากลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์รูปแบบอื่น จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวี ซิฟิลิส หนองในเทียม และหนองในแท้ โดยอาจตรวจปีละครั้งหรือมากกว่านั้น นอกจากนี้ อาจต้องตรวจไวรัสตับอักเสบบีด้วย
  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเสี่ยงติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นได้สูง หากได้รับการวินิจฉัยว่าได้รับเชื้อเอชไอวี แพทย์อาจต้องตรวจหาซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม และโรคเริมด้วย รวมทั้งตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี ส่วนผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีมักเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก จึงควรตรวจภายในหลังจากแพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อกามโรคทั้งคู่ก่อนมีเพศสัมพันธ์กัน

กลุ่มเสี่ยงจต่อการติดเชื้อโรค

  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน กรณีนี้จะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้อย่างมาก หากไม่มีการสวมใส่ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์  ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดโรคได้  การมีเพศสัมพันธ์ทางปากอาจทำให้เกิดความเสี่ยงได้น้อยกว่าแต่ก็พบได้มากเช่นกัน
  • เปลี่ยนคู่นอนบ่อยหรือมีคู่นอนหลายคน การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ จะเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อได้มากขึ้น
  • มีประวัติของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากเคยมีประวัติของการติดเชื้อแล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ
  • มีกิจกรรมทางเพศที่ไม่เต็มใจ หากถูกกระทำชำเราหรือทำร้ายร่างกาย  คุณควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการดูแลจิตใจและป้องกันการติดโรค
  • การดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติด สิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้คุณขาดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงของการมีเพศสัมพันธ์ได้
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น การใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อร้ายแรงหลายชนิด เช่น ติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี
  • 50% ของอายุผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อยู่อายุระหว่าง 15 ถึง 24 ปี
การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก

การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่าง เช่น หนองใน หนองในเทียม เอชไอวี และซิฟิลิส สามารถติดต่อจากแม่ไปยังลูกระหว่างตั้งครรภ์หรือคลอดได้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในทารกอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้นสตรีมีครรภ์ที่ได้รับเชื้อกามโรค ต้องได้รับการรักษาทันทีเพื่อป้องกันหรือลดโอกาสเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะได้รับเชื้อจากมารดา 

การรักษากามโรค

แต่ละโรคมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้ว โรคเหล่านี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส โดยโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นรักษาให้หายได้ง่ายกว่า ส่วนโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสทำได้โดยดูแลอาการไม่ให้กำเริบได้ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด วิธีดูแลและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส และการฉีดวัคซีน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตนั้นรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ได้แก่ หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส  และเชื้อทริโคโมแนส (Trichomoniasis) การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะต้องได้รับการรักษาจนครบกำหนด นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะได้รับการรักษาจนครบกำหนดและแผลหายดี
  • ยาต้านไวรัส ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเริมควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส แต่อาจทำให้คู่นอนของผู้ป่วยติดเชื้อได้ นอกจากนี้ ยาต้านไวรัสยังใช้รักษาผู้ป่วยเชื้อเอชไอวี อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้แม้จะมีโอกาสเสี่ยงต่ำก็ตาม ทั้งนี้ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง จะช่วยลดจำนวนเชื้อไวรัสให้น้อยลงจนตรวจหาแทบไม่พบ
  • การฉีดวัคซีน วัคซีนที่ใช้ป้องกันกามโรคได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพประกอบด้วย วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสรักษาเชื้อเอชพีวี ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีจัดอยู่ในวัคซีนฟรีสำหรับเด็กไทยทุกคนด้วย

ภาวะแทรกซ้อนจากกามโรค

ผู้ที่ได้รับเชื้อกามโรคซึ่งอยู่ในระยะแรก ควรได้รับการตรวจโรคเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ดังนี้

  • ปวดท้องน้อย 
  • ปวดกระดูกเชิงกราน หรืออักเสบ
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์
  • ทารกติดเชื้อที่ดวงตา
  • เกิดอาการข้ออักเสบ
  • เกิดการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน
  • เกิดภาวะมีบุตรยาก
  • ป่วยเป็นโรคหัวใจ
  • ป่วยเป็นโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งตับจากไวรัสตับเสบบีและซี เป็นต้น
การป้องกันกามโรค

การป้องกันกามโรค

ทำได้โดยเริ่มจากการป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น วิธีป้องกันกามโรคมีดังนี้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องเป็นประจำ การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค ไม่ควรใช้น้ำมันหล่อลื่นที่เป็นน้ำมัน เช่น ปิโตรเลียมเจลลี่กับถุงยางอนามัย
  • ควรมีคู่ครองเพียงคนเดียว ถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ติดเชื้อกามโรค 
  • ตรวจสอบคู่นอนของคุณให้แน่ใจว่าไม่มีโรคติดต่อใดๆ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนใหม่ จนกว่าคุณทั้งคู่จะได้รับการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่คลีนิคกามโรค
  • รับการฉีดวัคซีน การได้รับวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางประเภทได้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และไม่ควรใช้ยาเสพติด
  • พูดคุยกับคู่นอนของคุณก่อนการมีเพศสัมพันธ์
  • การป้องกันโรคก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพร็พ (PrEP) เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี

วิธีดูแลและป้องกันการแพร่เชื้อ

การดูแลอาการของโรค และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ โดยปฏิบัติดังนี้

  • หยุดมีเพศสัมพันธ์ และเข้ารับการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรมีเพศสัมพันธ์หากไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์ รวมทั้งคู่นอนต้องได้รับการรักษาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นอยู่จนหายก่อน

อ่านบทความอื่นๆ

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • กามโรค https://www.pobpad.com/กามโรค
  • กามโรค เชื้อร้ายกลายพันธุ์ พัฒนาเป็น “ซูเปอร์กามโรค” 4 ชนิดที่สร้างความกังวลทางสาธารณสุข
    https://www.bbc.com/thai/features-47116825
  • กามโรค (Venereal Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา https://cth.co.th/venereal-disease/

Similar Posts