รักษาหูดข้าวสุก ด้วยตัวเอง ทำได้หรือไม่

รักษาหูดข้าวสุก ด้วยตัวเอง ทำได้หรือไม่

หลายคนสงสัยว่าการ รักษาหูดข้าวสุก นั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองจริงหรือเปล่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทำได้ยากเพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าติดเชื้อมาตอนไหน และลักษณะของตุ่มก็มีความคล้ายคลึงกับโรคผิวหนังชนิดอื่นด้วย หากคิดจะ รักษาหูดข้าวสุก ควรทำการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้โดยตรงจะดีที่สุด ซึ่งวันนี้ เราจะมาแนะนำเรื่องเกี่ยวกับการรักษาหูดข้าวสุกและการป้องกันที่คุณควรรู้เพื่อจะได้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ครับ

หูดข้าวสุก คือโรคอะไรกันแน่?

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Molluscum Contagiosum Virus : MCV (มอลลัสคุม คอนทาจิโอซุมไวรัส) เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มพอกซ์ไวรัส (Poxvirus) ที่มักพบในบริเวณผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น โดยจะแบ่งออกเป็นไวรัส MCV 4 ชนิดย่อย แต่ชนิดที่ 1 จะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหูดข้าวสุกได้มากกว่า 95% แลไวรัสนี้ไม่มีผลต่อระบบภายในร่างกาย รวมไปถึงไม่แพร่กระจายโดยการจามหรือไอ ถือเป็นโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อกันได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งเชื้อจะเข้าไปในบริเวณผิวหนังที่เป็นแผล ลอก แตก จนทำให้เกิดตุ่มเนื้อ และมีรอยนูนขนาดเล็กทั่วร่างกาย แต่จะไม่ขึ้นตุ่มที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เหมือนกับโรคซิฟิลิส และไม่ได้ส่งผลต่อระบบอวัยวะภายในมากนัก

อาการของโรคหูดข้าวสุก

ถึงแม้ว่า โรคนี้จะไม่ได้มีอาการที่รุนแรง แต่ทุกคนก็ควรได้รับการ รักษาหูดข้าวสุก ระยะฟักตัวตั้งแต่ได้รับเชื้อไวรัสนี้มาจะเกิดอาการประมาณ 14 วันขึ้นไป ถึง 6 เดือน โดยอาการที่อาจสังเกตพบได้ มีดังต่อไปนี้

  • มีตุ่มขนาดเล็ก ประมาณ 2–5 มิลลิเมตร สีเหมือนกับผิวธรรมชาติ หรือบางรายอาจมีสีขาวหรือชมพู
  • ลักษณะตุ่มผิวสัมผัสมีความเงา และเรียบ เป็นรูปทรงโดม หรือมีรอยบุ๋มตรงกลางตุ่ม หากกดหรือบีบจะมีเนื้อหูดเละสีขาวคล้ายข้าวสุกไหลออกมา
  • อาจพบเป็นตุ่มเดี่ยวกระจายทั่วร่างกาย หรืออยู่กระจุกกันเป็นกลุ่มหลายตุ่ม ที่บริเวณใบหน้า รอบดวงตา หน้าท้อง ลำตัว แขนขา ลำคอ ข้อพับ ขาหนีบ ต้นขาด้านใน อวัยวะเพศ เป็นต้น
  • ตุ่มที่เกิดขึ้นไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ หรือคัน แต่อาจมีอาการบวมแดง หรืออาการอักเสบร่วมด้วย
  • ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหูดข้าวสุกที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ หรือมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการต้านทานต่อเชื้อไวรัสจะยิ่งทำให้ตุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นและคงอยู่นาน ยากต่อการรักษา

เราติดโรคหูดข้าวสุกได้จากช่องทางไหน?

ไวรัสที่ทำให้เป็นโรคนี้จะติดต่อผ่านการสัมผัสโดนบริเวณที่มีเชื้อโดยตรงเป็นหลัก เช่น สิ่งของเครื่องใช้ที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ (ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า รองเท้า อุปกรณ์กีฬา สระว่ายน้ำ อ่างน้ำสาธารณะ) หรือการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีหูดข้าวสุก ซึ่งนับได้ว่าโรคนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน

การวินิจฉัยโรคหูดข้าวสุก

หากคุณสงสัยว่าจะเป็นโรคหูดข้าวสุก และทำการพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติและลักษณะอาการของโรคที่คุณกำลังเป็นอยู่ แล้วจึงเริ่มการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย เพื่อยืนยันผลการติดเชื้อไวรัสได้แม่นยำมากขึ้น ได้แก่

  • ตรวจบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การขูดผิวหนัง และทำการเก็บตัวอย่างจากบริเวณรอยโรคไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
  • หากพบว่ามีหูดข้าวสุกบริเวณอวัยวะเพศ อาจมีการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ ด้วย

รักษาหูดข้าวสุก ทำได้อย่างไร?

ความจริงแล้ว ในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี คุณจะสามารถหายจากโรคหูดข้าวสุกได้เอง แม้ไม่ได้รับการรักษา ภายในครึ่งปีถึง 1 ปี แต่ร่างกายคนเรานั้น ก็ไม่อาจมองจากภายนอกอย่างเดียวได้ว่ามีความแข็งแรงแค่ไหน หากคุณไม่ได้รับการตรวจรักษา หูดข้าวสุกอาจจะยังคงอยู่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 5 ปีเลยทีเดียว โดยการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี หรือแพทย์อาจพิจารณาเลือกใช้หลายวิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับขนาด จำนวน และตำแหน่งของหูดข้าวสุกที่เกิดขึ้น ดังวิธีต่อไปนี้

  • การใช้ยาทาที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพื่อช่วยทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ เช่น
    • ยาทาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก
      • โพแทสเซียม ไฮดรอกไซด์
      • ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
      • เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์
  • การใช้ยาในรูปแบบเจล หรือครีมที่มีส่วนผสมของเรตินอยด์
    • ทาซาโรทีน
    • อะดาพาลีน
    • เตรติโนอิน
  • การจี้ด้วยความเย็น เป็นอีกรูปแบบของการใช้ไนโตรเจนเหลวที่มีความเย็นจัดในการทำลายหูด
  • การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ชนิดที่รักษาความผิดปกติของเส้นเลือดบนผิวหนังที่นิยมใช้

เพราะฉะนั้นการจะ รักษาหูดข้าวสุก ด้วยตัวเองจึงไม่ใช่สิ่งที่แพทย์แนะนำ เพราะอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ และมีความเสี่ยงต่อผิวหนังแสบ หรือระคายเคืองจากการรักษาผิดวิธี นอกจากนี้ หากไม่รู้ว่าติดเชื้อไวรัสใดกันแน่ การรักษาที่ไม่ตรงจุดจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังผู้อื่นโดยง่าย โดยขั้นตอนการรักษาและดูแลตัวเองในระหว่างที่เป็นหูดข้าวสุก ได้แก่

ห่างไกลโรคหูดข้าวสุก

การดูแลตัวเองในระหว่างที่เป็นหูดข้าวสุก

  • งดเว้นการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมไปถึงของใช้สาธารณะ อุปกรณ์กีฬา หรือการลงสระว่ายน้ำ อ่างอาบน้ำสาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
  • ควรหาพลาสเตอร์มาปิดตุ่มหูดข้าวสุก หรือสวมเสื้อปกคลุมให้มิดชิดเพื่อป้องกันการแกะเกาและลดโอกาสสัมผัสเชื้อโดยตรง เพราะหากมีการถลอกจากการแกะเกาจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย บางรายอาจเผลอนำมาขยี้ตาทำให้รอบดวงตาเกิดการติดเชื้อเพิ่ม
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ระวังไม่ให้คู่นอนสัมผัสโดนบริเวณแผลหูด แต่หากมีหูดบริเวณใกล้อวัยวะเพศก็ควรงดเว้นไปก่อนจนกว่าจะทำการรักษาหายขาดแล้ว

ห่างไกลโรคหูดข้าวสุกด้วยการ …

  • ลดโอกาสในการรับเชื้อ ด้วยการไม่สัมผัสเชื้อ และดูแลตัวเองตามหลักสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ของใช้ส่วนตัวก็ควรเก็บไว้ใช้คนเดียว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน ไม่ควรใช้ร่วมกัน
  • หมั่นล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะหลังการจับสิ่งของสาธารณะ
  • หัดสังเกตคู่นอนของตนเอง หากพบว่ามีหูดข้าวสุกบริเวณใกล้อวัยวะเพศ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์

สุดท้ายนี้ โรคหูดข้าวสุก และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ด้วยพฤติกรรมของคนที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคนี้ มักเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยเป็นประจำ จึงทำให้มีโอกาสสัมผัสกับรอยโรคได้โดยตรง เพราะฉะนั้น การหัดสังเกตอาการ และรอยโรคพร้อมทั้งหมั่นไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ จะช่วยให้คุณรู้ทันโรค และทำการรักษาได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเกิดความเสี่ยงที่เชื้อจะแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ครับ

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Similar Posts