ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง?
| | | |

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง?

 การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเราได้ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน 1. การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง  หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรดำเนินการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิกได้ทันที การตรวจแบบคัดกรองนี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2. การตรวจยืนยัน คือ การตรวจยืนยัน อีกครั้งหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมาแล้ว และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี  ทำไมถึงต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน…

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์กับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน
| | |

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์กับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ การติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นต้องมีอาการเอดส์ หากรู้เร็วด้วย การตรวจเลือด และรักษาเร็วด้วยยาต้านไวรัส โดยสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยที่สุด คือ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ สัมผัสเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่น้ำนมแม่ก็สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน การติดเชื้อเอชไอวีแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน คือ ระยะที่รับเชื้อมาใหม่ๆ หรือช่วงระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อมา โดยผู้ติดเชื้อบางส่วนจะมีอาการคล้ายไข้หวัด มีอาการ มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่น และปวดหัว อาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ…

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases)

โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งโดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แล้วทำให้เกิดโรค ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก ทุพลภาพและอาจตายได้ ซึ่งมผลกระทบต่อภาวะสุขภาพกาย และจิตใจและสุขภาพที่รุนแรงต่อทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กได้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases: STD) คือกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน สาเหตุของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการแบบใดสงสัยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์   อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินหรือฉีดยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง และให้ความสำคัญกับการพาคู่นอนมารับการตรวจรักษา ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต เช่น เริม การรักษาจะช่วยควบคุมอาการโรคได้ แต่การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอชพีวี ร่างกายอาจกำจัดเชื้อได้เอง หากกำจัดไม่ได้เชื้ออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต  การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์   การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใครควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจจากอะไร? การตรวจสามารถทำได้หลายวิธี แพทย์จะเลือกการตรวจที่เหมาะสมที่สุดจากการซักประวัติ ซึ่งวิธีตรวจหลักๆ จะมีดังนี้ อ่านบทความอื่นๆ…

ทำความเข้าใจก่อนใช้ยาเพร็พ และยาเป๊ป
| | |

ทำความเข้าใจก่อนใช้ยาเพร็พ และยาเป๊ป

สิ่งสำคัญของยาต้านไวรัสเอชไอวีคือ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งก่อนและหลังการสัมผัสเชื้อ หากพูดถึงวิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นวิธีป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น แต่ต้องใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวี PrEP และPEP  ว่าทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี PrEP และ PEP คืออะไร? เพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ หรือเป็นการใช้ยาเพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนจะมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อ เป๊ป (PEP- Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบที่เพิ่งได้สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง PrEP & PEP ทำงานอย่างไร? กลไกของยา PrEP จะไปสะสมอยู่ในเม็ดเลือดขาวในเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะที่เป็นช่องทางเข้าของเชื้อเอชไอวี เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนัก เยื่อบุอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ฯลฯ เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าไปในร่างกายในช่องทางดังกล่าว เชื้อก็จะถูกยาที่สะสมอยู่ก่อนหน้านั้นยับยั้งไม่ให้แบ่งตัว…

แผลริมอ่อน (Chancroid) 
|

แผลริมอ่อน (Chancroid) 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน  โรคแผลริมอ่อน (Chancroid)  คืออะไร แผลริมอ่อน หรือ ซิฟิลิสเทียม (Chancroid, Soft chancre, Ulcus molle หรือ Weicher Schanker)  เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Ducreyi  เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชาย และเพศหญิง จะทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ และต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตติดกันเป็นพืดและเจ็บ ซึ่งโรคนี้ติดต่อได้ง่าย แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง หากไม่รักษาจะเป็นสาเหตให้เกิดการติดเชื้อ HIV ได้ง่าย  หมายเหตุ  โรคแผลริมอ่อน บางครั้งเรียกว่า โรคซิฟิลิสเทียม เนื่องจากทำให้เกิดแผลได้เช่นเดียวกันกับโรคซิฟิลิส แต่จะแตกต่างกันตรงที่แผลริมอ่อน (ซิฟิลิสเทียม) จะมีอาการเจ็บ และปวด แต่แผลซิฟิลิสจะไม่เจ็บและปวด ระยะฟักตัวของโรค หลังจากที่ได้รับเชื้อ อยู่ในช่วง 1 วัน-2 สัปดาห์ แต่เฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 5-7 วัน…

หนองในเทียมโรคร้ายที่ป้องกันได้

หนองในเทียมโรคร้ายที่ป้องกันได้

หนองในเทียม อาจเป็นเรื้อรังและรักษาให้หายได้ยากกว่าโรคหนองในแท้ เนื่องจากส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบเชื้อ ที่เป็นต้นเหตุ แต่สำหรับโรคหนองในเทียมที่เกิดจากเชื้อคลามัยเดีย (ซึ่งเกิดได้เป็นส่วนใหญ่) จะรักษาให้หายขาดได้ภายใน 14 วัน หากรับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โรคหนองในเทียม คืออะไร โรคหนองในเทียม คือ การอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคที่ไม่ใช่หนองในแท้ (Gonococcal Urethritis) สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมได้แก่ สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของหนองในเทียมที่พบบ่อยที่สุดคือ Chlamydia trachomatis หรือ หนองในเทียม (Chlamydia) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย  เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า  คลามัยเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis)  ระยะฟักตัวของโรค หลังจากได้รับเชื้อมักจะ แสดงอาการภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น สาเหตุของหนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลามัยเดียทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อสามารถแพร่ติดต่อได้หลายทาง เช่น ทางอวัยวะเพศ ทางทวารหนัก ทางปาก หรือแม้กระทั่งทางตา หากมีสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อกระเด็นใส่ รวมไปถึงการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหนองในเทียม อาการของหนองในเทียม อาการหนองในเทียมในผู้ชายมีอาการอย่างไร?…

CD4 สำคัญอย่างไรกับผู้ติดเชื้อ HIV?

CD4 สำคัญอย่างไรกับผู้ติดเชื้อ HIV?

HIV เป็นเชื้อไวรัสที่จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่าง ๆ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจนอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะถูกเชื้อไวรัสเอชไอวีโจมตีจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้และก่อให้พัฒนาจนกลายเป็นโรคเอดส์ (AIDS) เต็มขั้น การตรวจวัดจำนวน CD3/CD4/CD8 ในกระแสเลือด ซึ่งเป็น CD ที่มีความจำเพาะกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่ต้องมีการกระตุ้น ( Adaptive Immune Response ) คือ กลุ่มเม็ดเลือดขาว ชนิดที่สร้างแอนติบอดี ( B cells ) หรือ กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นหน่วยความจำ ( T cells ) และมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย CD4 คืออะไร? CD4 cells ย่อมาจากคำว่า Cluster of Differentiation 4 บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells  CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรค…

 การตรวจเอชไอวี

 การตรวจเอชไอวี

หากพูดถึง การตรวจเอชไอวี (HIV) หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวและหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการตรวจเอชไอวี (HIV) นั้นยุ่งยาก ทำให้ไม่กล้ามาตรวจเพราะกลัว แต่จริงๆ แล้วการตรวจเอชไอวี HIV นั้นง่ายมาก เพียงแค่เจาะเลือดและรู้ผลได้เร็ว ที่สำคัญคนไทยทุกคน มีสิทธิตรวจฟรีถึงปีละ 2 ครั้ง แม้แต่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้โดยไม่ต้องมีผู้ปกครองอีกด้วยทำให้การตรวจเอชไอวี (HIV) นั้นง่ายและสะดวกกว่าเดิม เอชไอวี คืออะไร? เอชไอวี ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus คำว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” หมายความว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายของคนเราสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆได้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเรื่อยๆ ในที่สุดทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเอช ไอ วีจะไม่สามารถต้านการติดเชื้อต่างๆได้ เช่น วัณโรคหรือมะเร็ง: เราเรียกภาวะนี้เรียกว่า ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์ ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี การติดเชื้อเอชไอวีมีทั้งหมด 3 ระยะ โดยแต่ละระยะมีอาการที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ระยะเฉียบพลัน เป็นระยะที่เกิดขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีเชื้ออยู่ในเลือดเป็นจำนวนมาก และแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย ในช่วงแรกอาจมีอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกายจากการติดเชื้อ…

ดูแลตัวเองอย่างไร ?…เมื่อเป็นโรคซิฟิลิส  

ดูแลตัวเองอย่างไร ?…เมื่อเป็นโรคซิฟิลิส  

โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum) จากการสัมผัสถูกเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย และระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ที่มักสุ่มเสี่ยงกับการติดเชื้อได้มากที่สุด จึงมักถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคซิฟิลิสคือ? ซิฟิลิส (Syphilis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทรีโพนีมาพาลลิดัม (Treponema pallidum)  โดยปกติจะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดผื่นหรือแผลตามผิวหนัง และ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงขึ้นหากไม่รักษา โดยทั่วไปโรคซิฟิลิสจะเริ่มจากบาดแผล ซึ่งมักพบบริเวณอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ลักษณะของแผลจะเป็นแผลที่ไม่รู้สึกเจ็บ (Painless sore) หรือเรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) การแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นสามารถเกิดได้ผ่านทางการสัมผัสบาดแผลนี้กับผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ ระยะฟักตัวของโรค หลังจากที่ได้รับเชื้อ ก็มักจะแสดงอาการภายใน 10 – 90 วัน โรคซิฟิลิส ติดต่อกันได้อย่างไร สามารถรับเชื้อซิฟิลิสได้ 3 ทาง คือ ทางเพศสัมพันธ์ โดยติดต่อผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ติดต่อผ่านการสัมผัสแผลที่มีเชื้อ โดยผ่านทางผิวหนัง เยื่อบุตา ปาก จากแม่สู่ลูก โดยหากมารดาเป็นซิฟิลิส จะถ่ายทอดโรคนี้สู่ทารกในครรภ์ได้ โดยเรียกเด็กที่เป็นซิฟิลิสจากสาเหตุนี้ว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital…

ความรู้เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ

ความรู้เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ

โรคนี้มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่อาจนำไปสู่ความเสียหายของตับ และอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งในตับได้หากไม่ได้รับการรักษา  ซึ่งไวรัสตับอักเสบที่ก่อให้เกิดโรคในคนได้บ่อยๆ ประกอบด้วยไวรัสตับอักเสบชนิด เอ บี ซี ดี และ อี โดยสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเข้าไปในตับโดยแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันออกไป  ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถช่วยป้องกันโรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัสบางชนิดได้ และก็เหมือนกับทุกๆ โรคที่ว่าการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นหากเรามีโอกาสได้ตรวจหาภูมิคุ้มกันแล้วพบว่ายังไม่มี การรับวัคซีนก็จะช่วยให้เราเพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยจากโรคไวรัสตับอักเสบได้มากขึ้น ตับอักเสบ (Hepatitis) คืออะไร เป็นภาวะที่เซลล์ตับมีอาการอักเสบอันเกิดจากการบาดเจ็บ หรือถูกทำลาย โดยสร้างความเสียหายให้กับตับ ตั้งแต่ระดับธรรมดาไม่ร้ายแรง ไปจนถึงขั้นรุนแรงที่ทำให้มีโอกาสเสียชีวิต และสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น สารเคมี การเสพยาเสพติด การดื่มสุรามากเกินไป หรือเชื้อไวรัสต่างๆ กระทั่งส่งผลต่อประสิทธิภาพทำงานของตับ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และกล้ามเนื้อ รวมถึงมีไข้ต่ำๆ คลื่นไส้และอาเจียน เบื่ออาหาร อุจจาระมีสีซีดในขณะที่น้ำปัสสาวะมีสีเข้ม ตาเหลือง ตัวเหลือง และมักมีอาการปวดท้องที่ใต้ชายโครงด้านขวา  โดยอาการ และความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันไปตามแต่สาเหตุและระยะเวลาของการเกิดโรค หากเข้ารับการรักษาไม่ทันการณ์ (โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการมักจะอยู่ในช่วง 180 วัน) อาการของโรคอาจจะพัฒนาไปสู่การเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต โรคไวรัสตับอักเสบจะมีด้วยกันทั้งหมด…