โรคเอดส์ (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome)

โรคเอดส์ (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome)

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าผิดว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอด์ เป็นโรคเดียวกัน จริงๆ แล้วผู้ที่ได้รับเชื้อเชื้อเอชไอวี ระยะแรกจะยังไม่เป็นโรคเอดส์จนผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จนผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ จึงจะเรียกว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคเอดส์คืออะไร? โรคเอดส์ (AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndromes)       A = Acquired    หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด       I = Immune     หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย       D = Deficiency  หมายถึง ความเสื่อมลง       S = Syndrome   หมายถึง กลุ่มอาการ หรืออาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะระบบใดระบบหนึ่ง โรคเอดส์  คือ กลุ่มอาการของโรคฉวยโอกาส เกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าไปจนถึงระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ เชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลดลง จนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย  ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนที่เรียกว่า…

ยาต้านไวรัสเอชไอวี
| | |

 ยาต้านไวรัสเอชไอวี

เอชไอวี คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคเอดส์เสมอไป หากมีการติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกายผู้ติดเชื้อตลอดไป  ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่มียาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาได้เร็ว กินยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อเอชไอวีนี้ไปยังผู้อื่นได้ด้วย ยาต้านไวรัส HIV คืออะไร ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน) ยาต้านหรือยารักษา HIV มีกี่แบบ ปัจจุบันยาต้าน ยารักษา…

วิธีการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไรให้ปลอดภัย
|

วิธีการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อคนในบ้านติดเชื้อเอชไอวี เราจะมีวิธีการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นให้ปลอดภัยได้อย่าง โดยเฉพาะคนในครอบครัวเดียวกันนั้น ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะนอกจากคอยให้กำลังใจแล้ว ยังต้องดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ และสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ยังคงมีมาก และพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในทุกๆ วัน แต่ยังคงไม่มีตัวยา ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ช่วยให้ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการแย่ลง และสามารถใช้ชีวิต ได้อย่างปกติทั่วไป  ปัจจุบันสังคมไทยมีความเข้าใจในด้านเอชไอวีมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีความกล้าๆ กลัวๆ อยู่ คือ ยังมีมุมมองที่ติดลบ ไม่กล้าเปิดใจ ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้มากขึ้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีว่าเป็นเชื้อที่ไม่ได้ติดกันง่ายๆ เอชไอวี เป็นไวรัสที่อยู่ตามสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็น เลือด น้านม อสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำในทวาร หรือน้ำลาย เป็นต้น โดยสามารถติดต่อกันได้ 3 ช่องทาง คือ  ทางการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน จากแม่สู่ลูก จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เพราะเป็นการส่งต่อเชื้อทางเลือด อะไรก็ตาม ที่สัมผัสกับเลือดก็มีโอกาสเสี่ยง ถ้าหากผิวหนังของเรา สัมผัสกับเลือดผู้ติดเชื้อ ไม่ถือว่าเป็นอันตราย เพราะผิวหนังของเรา สามารถกันเชื้อไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าเกิดคุณมีแผลตามผิวหนัง ก็มีโอกาสเสี่ยง…

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

การติดเชื้อเอชไอวีนับว่าเป็นปัญหาระดับโลกที่หน่วยงานระดับสากล ได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยมุ่งหวังที่จะลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ 100% แต่การพัฒนาที่ก้าวล้ำมากที่สุดในตอนนี้ คือการรักษาผู้ป่วยให้สามารถมีชีวิตร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้อย่างปกติ และที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนาชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ( HIV Self Test) ซึ่งมีส่วนช่วยในการตรวจคัดกรองเอชไอวีเบื้องต้นได้ง่ายดาย อีกทั้งยังเข้าถึงผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระดับครัวเรือนอย่างทั่วถึงมากขึ้นด้วยเช่นกัน ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองคืออะไร? ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ( HIV Self Test) คือ ชุดเครื่องมือที่ทางการแพทย์ที่ได้ออกแบบมาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทราบผลเลือดได้สามารถตรวจด้วยตัวเองอย่างสะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่านความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่ต้องการหรือไม่สะดวกในการเข้ารับการตรวจคัดกรองยังสถานพยาบาล เนื่องจากต้องการความเป็นส่วนตัวมากกว่า ซึ่งชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์ให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยชุดตรวจที่มีประสิทธิภาพจะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรระดับสากลอย่างถูกต้อง ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองดีไหม น่าเชื่อถือหรือไม่?  ข้อสงสัยนี้ถือว่าเป็นหัวข้อสำคัญที่หลายคนให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากไม่มั่นใจว่าการตรวจเอชไอวีด้วยตนเองนั้น จะมีความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพแม่นยำเช่นเดียวกับการตรวจภายในสถานพยาบาลหรือไม่ ประกอบกับสามารถพบเห็นการขายชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากมาย ซึ่งง่ายและราคาค่อนข้างถูกจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าความน่าเชื่อถือของชุดตรวจจะดีหรือไม่อย่างไร โดยจากการประกาศอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการอาหารและยา รวมถึงประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2562 ได้ปลดล็อกชุดตรวจเอชไอวีให้จำหน่ายได้อย่างถูกต้องในประเทศไทย ทั้งนี้จะต้องขึ้นทะเบียนและมีคุณสมบัติต่าง ๆ ตามกำหนดอย่างเคร่งครัด หากผู้ที่ต้องการใช้งานชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองเลือกซื้อผ่านแหล่งจำหน่ายที่ได้มาตรฐานย่อมส่งผลให้ได้รับชุดตรวจที่เชื่อถือได้เช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญคือคุณสามารถหาซื้อได้อย่างสะดวกไม่ต้องเดินทางไปตรวจให้เสียเวลา ไม่ต้องเสียความเป็นส่วนตัวทางด้านข้อมูลให้ลำบากใจอีกต่อไป ทั้งนี้ยังได้รับผลการตรวจที่แม่นยำเทียบเท่าการตรวจในสถานพยาบาลอีกด้วย ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองแตกต่างจากการตรวจที่สถานพยาบาลอย่างไร? ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง มีความแตกต่างจากการตรวจในสถานพยาบาล ในเรื่องของ การสอบถามประวัติ อาการ และความเสี่ยงที่ได้รับที่คาดว่าอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินความเสี่ยงจากระยะเวลา…

มารู้จักเอดส์ กับระยะของการติดเชื้อ และผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสังเกตตนเองอย่างไร
| | |

มารู้จักเอดส์ กับระยะของการติดเชื้อ และผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสังเกตตนเองอย่างไร

ทุกคนรู้ดีว่า “เอดส์” คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีในการรักษาให้หายขาด แต่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงเพื่อต่อสู้กับโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเข้ามาหา ปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคนี้คือ การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคู่โดยไม่ป้องกันด้วยถุงยางอนามัย หรือห่วงอนามัย, การใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเชื้อเอดส์นี้จะไม่ติดต่อทางน้ำลายหรือการสัมผัสภายนอก อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่มีพฤติกรรมเสี่ยง การรู้ว่าเอดส์ระยะแรก และระยะถัด ๆ ไปเป็นอย่างไร จะช่วยด้านการดูแลตนเองอย่างดี เอดส์ระยะแรก แสดงอาการอย่างไร เอดส์ระยะแรกจะเรียกว่า ระยะเฉียบพลัน คือ อาการของร่างกายที่ได้รับเชื้อ HIV เข้ามาแล้วราว ๆ 2-3 สัปดาห์ จนเริ่มเกิดการฟักตัว สังเกตง่าย ๆ คือ มีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลียมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองบวม มีผื่นแดงและนูนที่ผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อ สาเหตุที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาเหล่านี้ขึ้นเพราะต้องการตอบสนองกับสิ่งแปลกปลอมภายนอกที่เข้ามาหา ประกอบกับเมื่อเชื้อ HIV เข้ามาตอนแรก ๆ จะแพร่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวมีปริมาณลดลงฉับพลัน ระยะนี้ถือว่าเป็นอันตรายในการแพร่ไปสู่ผู้อื่นเนื่องจากยังไม่รู้ว่าตนเองเป็นอะไร เมื่ออาการต่าง ๆ เริ่มดีขึ้นแสดงว่าการแพร่ของไวรัสอยู่ในสภาวะคงที่ เม็ดเลือดขาวก็จะค่อย…