Undetectable
| | | | |

Undetectable แล้วไม่ป้องกันได้ไหม ปลอดภัยจริงไหม?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวคิด หรือ “U=U” ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการแพทย์และสาธารณสุข โดยคำว่า “Undetectable” หมายถึงการที่ปริมาณไวรัส HIV ในเลือดของผู้ติดเชื้อลดต่ำจนไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการทดสอบมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ติดเชื้อได้รับการบำบัดด้วยยาต้านไวรัส (ART) อย่างสม่ำเสมอ แนวคิด U=U เป็นที่ยอมรับทางวิทยาศาสตร์ว่า ผู้ที่มีปริมาณไวรัส HIV ต่ำจนตรวจไม่พบ ไม่สามารถแพร่เชื้อให้คู่นอนผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม คำถามที่หลายคนยังคงสงสัยคือ ถ้าไวรัสตรวจไม่พบแล้ว สามารถมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยได้ไหม และมันปลอดภัยจริงหรือ?

Untransmittable
| | | |

Untransmittable ความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงชีวิตและสังคม

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “Untransmittable” ที่มาพร้อมแนวคิด “ตรวจไม่เจอ = ไม่แพร่เชื้อ” (U=U) ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการแพทย์และสังคมทั่วโลก แนวคิดนี้ไม่เพียงแค่ช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV แต่ยังเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการยอมรับในสังคมต่อผู้ที่มีเชื้อ HIV ด้วย

U=U&ME
|

U=U&ME แคมเปญใหม่เพื่อหยุดตีตราผู้ติดเชื้อ!

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ได้มีการจัดถ่ายภาพที่ Crimson Studio ในกรุงเทพฯ สำหรับแคมเปญที่ชื่อว่า “U=U&ME” ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิ Love Foundation Thailand แคมเปญนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและเสริมความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกับเอชไอวี โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้และการต่อต้านการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ติดเชื้อ HIV ดูแลตัวเองอย่างไร

ติดเชื้อ HIV ดูแลตัวเองอย่างไร

การตรวจพบว่าตัวเอง ติดเชื้อ HIV และต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้ออาจเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ติดเชื้ออย่างมาก แต่ด้วยการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตที่มีสุขภาพดีได้ เพราะการดูแลตนเองเมื่อ ติดเชื้อ HIV เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม และการจัดการสภาพร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ นำเสนอเคล็ดลับและกลยุทธ์ที่จำเป็น เพื่อนำทางชีวิตในฐานะบุคคลที่ ติดเชื้อ HIV ตั้งแต่การเข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาลและการทำความเข้าใจตัวเลือกการรักษา ไปจนถึงการใช้พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ การป้องกันการแพร่เชื้อ การจัดการสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งข้อมูล การสนับสนุนที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ ติดเชื้อ HIV มีความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและมีความสุขขณะใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้ โดยการน้อมรับแนวทางปฏิบัติในการดูแลตนเองและการรับทราบข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

วิธีการรักษาผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี
|

วิธีการรักษาผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

ผื่นที่ผิวหนัง เป็นอาการทั่วไปเมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ขึ้น อาการมักจะเป็นสัญญาณเริ่มแรก และมักจะเกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างก่าย ซึ่งอาการผื่นอาจไม่ได้เป็นเกิดจากการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ได้ด้วย ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี อาจจะเรียกว่า ผื่นเอชไอวี หรือเอดส์เฉียบพลัน  เป็นผื่นเอชไอชวีเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดเชื้อ ผื่นจะปรากฏในส่วนเดียว หรือหลายส่วนของร่างกาย และอาจทำให้เกิดอาการคันที่ผืนด้วย  วิธีการสังเกตผื่น มีดังนี้ สังเกตดูว่าเป็นผื่นแดง บวมเล็กน้อย และคันมากๆ หรือไม่ ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะเป็นจุดด่างดวงบนผิวหนัง ถ้าเป็นคนผิวขาวก็จะเป็นจุดสีแดง แต่ถ้าเป็นคนผิวสีเข้มก็จะเป็นสีดำอมม่วง โดยความรุนแรงของผื่นจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นรุนแรงมากเป็นบริเวณกว้าง ในขณะที่บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น แต่ถ้าผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี เป็นผลมาจากยาต้านไวรัส ผื่นจะเป็นรอยแผลแดงบวมไปทั่วร่างกาย ผื่นแบบนี้เรียกว่า ผื่นแพ้ยา สังเกตว่าผื่นขึ้นตรงไหล่ หน้าอก ใบหน้า ท่อนบนของร่างกาย และมือหรือไม่ ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะขึ้นในบริเวณเหล่านี้ แต่ก็มักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทำให้บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการแพ้ หรือผิวหนังอักเสบ ซึ่งผื่นที่เกิดจากเอชไอวี ไม่สามารถติดต่อกันได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงว่าจะแพร่เชื้อเอชไอวี ผ่านทางผื่นสู่คนอื่นได้ สังเกตอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนที่เป็นผื่นเอชไอวี ผื่นเอชไอวีจะมีอาการเจ็บ…

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U
| | | |

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ U=U คืออะไร U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U…

ยาเป๊ปยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี
| | |

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยา PEP คืออะไร PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง การทานยาเป๊ป(PEP)  การทานยา เป๊ป(PEP)   จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง…

ยาเพร็พ (PrEP)
| | |

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยาเพร็พ (PrEP) ยา PrEP ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น การใช้ยาเพร็พ (PrEP) สาเหตุที่ต้องรับยาเพร็พ (PrEP) การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP) หรือยาต้านก่อนเสี่ยงนั้น  เพื่อให้ร่างกายมีระดับยาที่เพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยต้องจะรับประทานยาติดต่อกันทุกวันตลอดช่วงที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ และการใช้ยาในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มยาว่าตนไม่มีเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว  ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ (PrEP) ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์ การใช้ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 %…

CD4 สำคัญอย่างไรกับผู้ติดเชื้อ HIV?

CD4 สำคัญอย่างไรกับผู้ติดเชื้อ HIV?

HIV เป็นเชื้อไวรัสที่จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่าง ๆ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจนอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะถูกเชื้อไวรัสเอชไอวีโจมตีจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้และก่อให้พัฒนาจนกลายเป็นโรคเอดส์ (AIDS) เต็มขั้น การตรวจวัดจำนวน CD3/CD4/CD8 ในกระแสเลือด ซึ่งเป็น CD ที่มีความจำเพาะกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่ต้องมีการกระตุ้น ( Adaptive Immune Response ) คือ กลุ่มเม็ดเลือดขาว ชนิดที่สร้างแอนติบอดี ( B cells ) หรือ กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นหน่วยความจำ ( T cells ) และมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย CD4 คืออะไร? CD4 cells ย่อมาจากคำว่า Cluster of Differentiation 4 บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells  CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรค…

 การตรวจเอชไอวี

 การตรวจเอชไอวี

หากพูดถึง การตรวจเอชไอวี (HIV) หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวและหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการตรวจเอชไอวี (HIV) นั้นยุ่งยาก ทำให้ไม่กล้ามาตรวจเพราะกลัว แต่จริงๆ แล้วการตรวจเอชไอวี HIV นั้นง่ายมาก เพียงแค่เจาะเลือดและรู้ผลได้เร็ว ที่สำคัญคนไทยทุกคน มีสิทธิตรวจฟรีถึงปีละ 2 ครั้ง แม้แต่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้โดยไม่ต้องมีผู้ปกครองอีกด้วยทำให้การตรวจเอชไอวี (HIV) นั้นง่ายและสะดวกกว่าเดิม เอชไอวี คืออะไร? เอชไอวี ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus คำว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” หมายความว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายของคนเราสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆได้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเรื่อยๆ ในที่สุดทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเอช ไอ วีจะไม่สามารถต้านการติดเชื้อต่างๆได้ เช่น วัณโรคหรือมะเร็ง: เราเรียกภาวะนี้เรียกว่า ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์ ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี การติดเชื้อเอชไอวีมีทั้งหมด 3 ระยะ โดยแต่ละระยะมีอาการที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ระยะเฉียบพลัน เป็นระยะที่เกิดขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีเชื้ออยู่ในเลือดเป็นจำนวนมาก และแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย ในช่วงแรกอาจมีอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกายจากการติดเชื้อ…