Undetectable
| | | | |

Undetectable แล้วไม่ป้องกันได้ไหม ปลอดภัยจริงไหม?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวคิด หรือ “U=U” ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการแพทย์และสาธารณสุข โดยคำว่า “Undetectable” หมายถึงการที่ปริมาณไวรัส HIV ในเลือดของผู้ติดเชื้อลดต่ำจนไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการทดสอบมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ติดเชื้อได้รับการบำบัดด้วยยาต้านไวรัส (ART) อย่างสม่ำเสมอ แนวคิด U=U เป็นที่ยอมรับทางวิทยาศาสตร์ว่า ผู้ที่มีปริมาณไวรัส HIV ต่ำจนตรวจไม่พบ ไม่สามารถแพร่เชื้อให้คู่นอนผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม คำถามที่หลายคนยังคงสงสัยคือ ถ้าไวรัสตรวจไม่พบแล้ว สามารถมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยได้ไหม และมันปลอดภัยจริงหรือ?

Untransmittable
| | | |

Untransmittable ความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงชีวิตและสังคม

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “Untransmittable” ที่มาพร้อมแนวคิด “ตรวจไม่เจอ = ไม่แพร่เชื้อ” (U=U) ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการแพทย์และสังคมทั่วโลก แนวคิดนี้ไม่เพียงแค่ช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV แต่ยังเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการยอมรับในสังคมต่อผู้ที่มีเชื้อ HIV ด้วย

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U
| | | |

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ U=U คืออะไร U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U…

ยาเป๊ปยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี
| | |

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยา PEP คืออะไร PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง การทานยาเป๊ป(PEP)  การทานยา เป๊ป(PEP)   จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง…

ยาเพร็พ (PrEP)
| | |

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยาเพร็พ (PrEP) ยา PrEP ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น การใช้ยาเพร็พ (PrEP) สาเหตุที่ต้องรับยาเพร็พ (PrEP) การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP) หรือยาต้านก่อนเสี่ยงนั้น  เพื่อให้ร่างกายมีระดับยาที่เพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยต้องจะรับประทานยาติดต่อกันทุกวันตลอดช่วงที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ และการใช้ยาในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มยาว่าตนไม่มีเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว  ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ (PrEP) ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์ การใช้ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 %…

15เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีโรคเอดส์
| | | |

15 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

ถึงแม้ว่าโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะมีมานานมากแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ทำให้ปัจจุบันต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี หรือการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง เอชไอวี คืออะไร เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์ คืออะไร เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ 1. โรคเอดส์ กับ เชื้อเอชไอวี เป็นคนละตัวกัน HIV คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ส่วนโรคเอดส์ คือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เชื้อเอชไอวีทำลาย 2. โรคเอดส์ ยังมีโอกาสรอดชีวิต…

โรคเอดส์ (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome)

โรคเอดส์ (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome)

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าผิดว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอด์ เป็นโรคเดียวกัน จริงๆ แล้วผู้ที่ได้รับเชื้อเชื้อเอชไอวี ระยะแรกจะยังไม่เป็นโรคเอดส์จนผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จนผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ จึงจะเรียกว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคเอดส์คืออะไร? โรคเอดส์ (AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndromes)       A = Acquired    หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด       I = Immune     หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย       D = Deficiency  หมายถึง ความเสื่อมลง       S = Syndrome   หมายถึง กลุ่มอาการ หรืออาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะระบบใดระบบหนึ่ง โรคเอดส์  คือ กลุ่มอาการของโรคฉวยโอกาส เกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าไปจนถึงระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ เชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลดลง จนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย  ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนที่เรียกว่า…

วิธีการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไรให้ปลอดภัย
|

วิธีการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อคนในบ้านติดเชื้อเอชไอวี เราจะมีวิธีการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นให้ปลอดภัยได้อย่าง โดยเฉพาะคนในครอบครัวเดียวกันนั้น ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะนอกจากคอยให้กำลังใจแล้ว ยังต้องดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ และสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ยังคงมีมาก และพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในทุกๆ วัน แต่ยังคงไม่มีตัวยา ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ช่วยให้ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการแย่ลง และสามารถใช้ชีวิต ได้อย่างปกติทั่วไป  ปัจจุบันสังคมไทยมีความเข้าใจในด้านเอชไอวีมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีความกล้าๆ กลัวๆ อยู่ คือ ยังมีมุมมองที่ติดลบ ไม่กล้าเปิดใจ ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้มากขึ้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีว่าเป็นเชื้อที่ไม่ได้ติดกันง่ายๆ เอชไอวี เป็นไวรัสที่อยู่ตามสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็น เลือด น้านม อสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำในทวาร หรือน้ำลาย เป็นต้น โดยสามารถติดต่อกันได้ 3 ช่องทาง คือ  ทางการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน จากแม่สู่ลูก จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เพราะเป็นการส่งต่อเชื้อทางเลือด อะไรก็ตาม ที่สัมผัสกับเลือดก็มีโอกาสเสี่ยง ถ้าหากผิวหนังของเรา สัมผัสกับเลือดผู้ติดเชื้อ ไม่ถือว่าเป็นอันตราย เพราะผิวหนังของเรา สามารถกันเชื้อไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าเกิดคุณมีแผลตามผิวหนัง ก็มีโอกาสเสี่ยง…

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

การติดเชื้อเอชไอวีนับว่าเป็นปัญหาระดับโลกที่หน่วยงานระดับสากล ได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยมุ่งหวังที่จะลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ 100% แต่การพัฒนาที่ก้าวล้ำมากที่สุดในตอนนี้ คือการรักษาผู้ป่วยให้สามารถมีชีวิตร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้อย่างปกติ และที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนาชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ( HIV Self Test) ซึ่งมีส่วนช่วยในการตรวจคัดกรองเอชไอวีเบื้องต้นได้ง่ายดาย อีกทั้งยังเข้าถึงผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระดับครัวเรือนอย่างทั่วถึงมากขึ้นด้วยเช่นกัน ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองคืออะไร? ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ( HIV Self Test) คือ ชุดเครื่องมือที่ทางการแพทย์ที่ได้ออกแบบมาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทราบผลเลือดได้สามารถตรวจด้วยตัวเองอย่างสะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่านความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่ต้องการหรือไม่สะดวกในการเข้ารับการตรวจคัดกรองยังสถานพยาบาล เนื่องจากต้องการความเป็นส่วนตัวมากกว่า ซึ่งชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์ให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยชุดตรวจที่มีประสิทธิภาพจะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรระดับสากลอย่างถูกต้อง ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองดีไหม น่าเชื่อถือหรือไม่?  ข้อสงสัยนี้ถือว่าเป็นหัวข้อสำคัญที่หลายคนให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากไม่มั่นใจว่าการตรวจเอชไอวีด้วยตนเองนั้น จะมีความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพแม่นยำเช่นเดียวกับการตรวจภายในสถานพยาบาลหรือไม่ ประกอบกับสามารถพบเห็นการขายชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากมาย ซึ่งง่ายและราคาค่อนข้างถูกจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าความน่าเชื่อถือของชุดตรวจจะดีหรือไม่อย่างไร โดยจากการประกาศอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการอาหารและยา รวมถึงประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2562 ได้ปลดล็อกชุดตรวจเอชไอวีให้จำหน่ายได้อย่างถูกต้องในประเทศไทย ทั้งนี้จะต้องขึ้นทะเบียนและมีคุณสมบัติต่าง ๆ ตามกำหนดอย่างเคร่งครัด หากผู้ที่ต้องการใช้งานชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองเลือกซื้อผ่านแหล่งจำหน่ายที่ได้มาตรฐานย่อมส่งผลให้ได้รับชุดตรวจที่เชื่อถือได้เช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญคือคุณสามารถหาซื้อได้อย่างสะดวกไม่ต้องเดินทางไปตรวจให้เสียเวลา ไม่ต้องเสียความเป็นส่วนตัวทางด้านข้อมูลให้ลำบากใจอีกต่อไป ทั้งนี้ยังได้รับผลการตรวจที่แม่นยำเทียบเท่าการตรวจในสถานพยาบาลอีกด้วย ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองแตกต่างจากการตรวจที่สถานพยาบาลอย่างไร? ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง มีความแตกต่างจากการตรวจในสถานพยาบาล ในเรื่องของ การสอบถามประวัติ อาการ และความเสี่ยงที่ได้รับที่คาดว่าอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินความเสี่ยงจากระยะเวลา…