โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases)
โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งโดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แล้วทำให้เกิดโรค ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก ทุพลภาพและอาจตายได้ ซึ่งมผลกระทบต่อภาวะสุขภาพกาย และจิตใจและสุขภาพที่รุนแรงต่อทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กได้
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases: STD) คือกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน
สาเหตุของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- เชื้อไวรัส ซึ่งบางชนิดรักษาหาย บางชนิดไม่มียารักษา บางชนิดจะแฝงตัวและเป็นซ้ำได้อีก เช่น เริม (Herpes Simplex),หูดหงอนไก่ (Papilloma Virus หรือ HPV),เอดส์ (HIV) และไวรัสตับอักเสบบี ฯลฯ
- เชื้อแบคทีเรีย รักษาหายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น หนองในแท้ (Gonorrhea),หนองในเทียม (Chlamydia),ซิฟิลิส (Syphilis) และช่องคลอดอักเสบ ฯลฯ
- เชื้ออื่นๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น เชื้อพยาธิ (Trichomanas),เชื้อรา (Candida)
กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- คนที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
- ผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 1 ปีที่ผ่านมา
- ผู้ที่ไม่สวมถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์
อาการแบบใดสงสัยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ในผู้ชาย ปัสสาวะแสบขัด ขาหนีบบวม เป็นฝี เจ็บปวดอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผลบริเวณอวัยวะเพศ มีเมือกใสหรือหนองไหลออกมา
- ในผู้หญิง รู้สึกเจ็บเสียวท้องน้อย ขาหนีบบวม เป็นฝี เจ็บปวด คันอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผลบริเวณอวัยวะเพศ มีตกขาวสีเหลืองมีกลิ่นเหม็น
อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ปวด หรือมีตุ่ม มีผื่น หรือแผล ภายนอกอวัยวะเพศ ภายในอวัยวะเพศ หรือบริเวณทวารหนัก เจ็บหรือแสบเวลาปัสสาวะ
- มีของเหลวเป็นเมือกใส หรือหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศชาย
- มีตกขาวสีเหลืองมีกลิ่น มีอาการคัน หรือระคายเคือง และตกขาวผิดปกติแบบเรื้อรังเป็นๆหายๆ
- อวัยวะเพศหญิงมีเลือดไหลผิดปกติ
- เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบบวม ปวดบริเวณขาหนีบ
- ปวดท้องน้อย หรือเจ็บเสียวท้องน้อย
- มีไข้
- มีผื่นที่อวัยวะเพศชาย มือ หรือเท้า
- ปัสสาวะแสบขัด
- ขาหนีบบวม
- เป็นฝี
- เจ็บปวดอวัยวะเพศ
- เชื้อบางชนิด อาจไม่แสดงอาการในระยะแรก หรือบางระยะโรค เช่น หูดหงอนไก่ชนิดที่ก่อมะเร็งปากมดลูก (High risk group HPV), เริม, เอดส์, ซิฟิลิสบางระยะ เป็นต้น
การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินหรือฉีดยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง และให้ความสำคัญกับการพาคู่นอนมารับการตรวจรักษา
ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต เช่น เริม การรักษาจะช่วยควบคุมอาการโรคได้ แต่การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอชพีวี ร่างกายอาจกำจัดเชื้อได้เอง หากกำจัดไม่ได้เชื้ออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- ไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เสี่ยงติดโรค
- รักษาความสะอาดร่างกาย และอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจโรคเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะคู่ที่กำลังจะแต่งงาน
- ห้ามร่วมเพศ หากมีประจำเดือน เพราะจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการติดโรคมากขึ้น
- ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เพราะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ หากจำเป็นให้สวมถุงยางอนามัย
- ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่าย
- ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ยังอายุน้อย เนื่องจากมีสถิติว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีโอกาสติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง
- ศึกษาเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ปรึกษาแพทย์ เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าติดต่อโรค
การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ควรแจ้งให้คู่สามี/ภรรยาแจ้งคู่นอนให้ทราบว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อจะได้ป้องกัน ไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่คนอื่น
- ต้องรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค
- งดการมีเพศสัมพันธ์ หรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอักเสบลุกลาม และเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังคนอื่น
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของมึนเมาทุกชนิด
- ให้รีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างทันท่วงที และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ไม่ควรซื้อยามารักษาเอง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ใครควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- กำลังวางแผนมีบุตรหรือแต่งงาน เชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคสามารถส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ได้
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งในช่องคลอด น้ำอสุจิ และเลือด หากไม่ใช้ถุงยางก็มีโอกาสสูงมากที่จะติดโรค
- เพิ่งเปลี่ยนคู่นอนใหม่ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายโรคไม่มีอาการแสดงออกให้รู้ได้เลย ดังนั้นเราไม่อาจแน่ใจได้ว่าคู่นอนของเรามีเชื้อหรือไม่
- จับได้ว่าแฟนแอบเปลี่ยนคู่นอน เนื่องจากเชื้อสามารถส่งต่อกันได้แม้จะเพิ่งรับเชื้อก็ตาม
- มีคู่นอนหลายคน หากมีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบัน ก็ควรเข้ารับการตรวจ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไว้เพื่อความชัวร์
- ถูกล่วงละเมิดทางเพศ มีโอกาสเสี่ยงอย่างมากที่จะติดโรคจากการถูกล่วงละเมิด เพราะไม่ทราบถึงสุขอนามัยของผู้กระทำ
- เริ่มมีอาการของโรค โรคบางโรคก็อาจแสดงอาการออกมาให้เห็นชัดเจน เช่น ซิฟิลิส หนองใน อาจมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ปัสสาวะแล้วเจ็บ เป็นต้น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจจากอะไร?
การตรวจสามารถทำได้หลายวิธี แพทย์จะเลือกการตรวจที่เหมาะสมที่สุดจากการซักประวัติ ซึ่งวิธีตรวจหลักๆ จะมีดังนี้
- ตรวจเลือดหรือปัสสาวะ เป็นการตรวจที่นิยิมที่สุด เพราะสามารถตรวจได้หลายโรค เช่น เชื้อเอชไอวี เริม หนองใน ซิฟิลิส และไวรัสตับอักเสบ
- ตรวจภายใน (Pap smears) ปกติแล้วการตรวจด้วยวิธีแปป สเมียร์ เป็นการตรวจเพื่อสังเกตอาการเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูก แต่มะเร็งปากมดลูกก็อาจเกิดจากการติดเชื้อ HPV เมื่อมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน
- ตรวจสารคัดหลั่ง ในบางกรณีแพทย์อาจใช้การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ ปากมดลูก ทางเดินปัสสาวะ หรือทวารหนัก เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อได้
- ตรวจร่างกาย ในกรณีที่อาการเริ่มแสดงออกมาให้เห็นแล้ว การตรวจร่างกายก็สามารถใช้ประกอบการวินิจฉัยได้ เช่น เริม หูด ซิฟิลิส เป็นต้น
อ่านบทความอื่นๆ
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :
- โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=th&id=562
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ น่ากลัวแค่ไหน! https://blog.yesmomapp.com//โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์-น่ากลัวแค่ไหน-ad01768dca9e
- ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กันเถอะ (STD) https://hdmall.co.th/c/std-test
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ https://www.synphaet.co.th//ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์/
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คืออะไร และเกี่ยวข้องกับเชื้อ HIV อย่างไร? https://www.caremat.org/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ/
- เพศสัมพันธ์กับโรคติดต่อทางนรีเวช https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/บทความ-สุขภาพผู้หญิง/เพศสัมพันธ์กับโรคติดต่อทางนรีเวช