ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 กับ HIV-2
|

ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 กับ HIV-2

เชื้อไวรัสเอชไอวี  จัดเป็นไวรัสชนิด RNA ใน subfamily Lentivirinae มีเอนไซม์ที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ เอนไซม์รีเวอร์สทรานสคริพเตส (Reverse transcriptase, RT)  สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอชไอวี สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นเชื้อที่สามารถกลายพันธุ์(Mutatuion)ได้รวดเร็ว ในร่างกายของผู้ติดเชื้อคนๆหนึ่งจะพบเชื้อไวรัสเอชไอวีสายพันธุ์ต่างๆ ได้หลายชนิด จึงต้องมีการจัดจำแนกชนิดของเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยใช้ข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นเกณฑ์ในการคัดกรอง โดยสามารถแบ่งออกเป็น types, groups และ subtypes เชื้อไวรัสเอชไอวีมี 2 ชนิด ได้แก่ HIV type 1 (HIV-1) และ HIV type 2 (HIV-2) ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 กับ HIV-2 การแพร่เชื้อ HIV-2 ส่งต่อได้ยากกว่า HIV-1 เพราะรูปแบบการแพร่เชื้อ HIV-2 ที่พบบ่อยที่สุดคือ  การวินิจฉัย ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่าง HIV-1 และ HIV-2 หมายความว่า หากบุคคลทำการทดสอบ…

| |

มีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย

เรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญของทุกคน การป้องกันก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน การมีเซ็กส์ยังไงให้ปลอดภัย เพื่อการป้องกัน และลดความเสี่ยงการติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์ Safe Sex คืออะไร  คือ การมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์กันอย่างปลอดภัย ซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่ามีเพียงแค่การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยมีมากกว่านั้น อย่างเช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าการช่วยตัวเอง ซึ่งวิธีอย่างหนึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ร้ายแรง หรือน่ารังเกียจ ทำไมต้อง Safe Sex?  การ Safe Sex หรือการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี, โรคเอดส์, ซิฟิลิส, หนองใน ฯลฯ หรือช่วยในการคุมกำเนิด ตั้งท้องในขณะที่ยังไม่พร้อม  การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นไปได้หรือไม่  เป็นไปได้ หากเรามีความรู้ และการเข้าใจในการมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์ อย่างถูกต้อง ทำให้เรามีเซ็กส์อย่างปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Safe Sex มีแบบไหนบ้าง? แบบที่ 1 ก่อนที่จะมี Sex กับใครได้โปรดตรวจเลือดเพื่อความชัวร์!  แม้ว่าเราจะมั่นใจในตัวเอง…

| | |

การป้องกันการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส

โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ป่วยนั้นถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานต่อโรค หรือการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรโตซัว ซึ่งปกติไม่ทำให้เกิดโรคในคนที่มีสุขภาพปกติ แต่สามารถเกิดได้กับผู้ป่วย บางครั้งอาจรุนแรงเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โรคติดเชื้อฉวยโอกาส คืออะไร โรคติดเชื้อฉวยโอกาส Opportunistic Infections คือ การติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคที่จะไม่ค่อยเกิดกับคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์ดี แต่สามารถทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้  โดยติดเชื้อที่เกิดจาก แบคทีเรีย , เชื้อรา , ปรสิต หรือไวรัส  ประเภทของการติดเชื้อฉวยโอกาส เชื้อโรคหลากหลายชนิดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อฉวยโอกาสซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้ แบคทีเรีย เชื้อรา ปรสิต ไวรัส การติดโรคฉวยโอกาสที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ CD4 อยู่ในระดับต่าง ๆ จำนวน CD4 อยู่ในระดับ 200-500/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ100-200/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ50-100/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ < 50…

| | | |

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง?

 การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเราได้ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน 1. การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง  หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรดำเนินการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิกได้ทันที การตรวจแบบคัดกรองนี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2. การตรวจยืนยัน คือ การตรวจยืนยัน อีกครั้งหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมาแล้ว และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี  ทำไมถึงต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน…

| | |

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์กับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ การติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นต้องมีอาการเอดส์ หากรู้เร็วด้วย การตรวจเลือด และรักษาเร็วด้วยยาต้านไวรัส โดยสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยที่สุด คือ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ สัมผัสเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่น้ำนมแม่ก็สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน การติดเชื้อเอชไอวีแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน คือ ระยะที่รับเชื้อมาใหม่ๆ หรือช่วงระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อมา โดยผู้ติดเชื้อบางส่วนจะมีอาการคล้ายไข้หวัด มีอาการ มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่น และปวดหัว อาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ…

| | |

ทำความเข้าใจก่อนใช้ยาเพร็พ และยาเป๊ป

สิ่งสำคัญของยาต้านไวรัสเอชไอวีคือ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งก่อนและหลังการสัมผัสเชื้อ หากพูดถึงวิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นวิธีป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น แต่ต้องใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวี PrEP และPEP  ว่าทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี PrEP และ PEP คืออะไร? เพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ หรือเป็นการใช้ยาเพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนจะมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อ เป๊ป (PEP- Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบที่เพิ่งได้สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง PrEP & PEP ทำงานอย่างไร? กลไกของยา PrEP จะไปสะสมอยู่ในเม็ดเลือดขาวในเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะที่เป็นช่องทางเข้าของเชื้อเอชไอวี เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนัก เยื่อบุอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ฯลฯ เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าไปในร่างกายในช่องทางดังกล่าว เชื้อก็จะถูกยาที่สะสมอยู่ก่อนหน้านั้นยับยั้งไม่ให้แบ่งตัว…

| | |

 ยาต้านไวรัสเอชไอวี

เอชไอวี คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคเอดส์เสมอไป หากมีการติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกายผู้ติดเชื้อตลอดไป  ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่มียาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาได้เร็ว กินยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อเอชไอวีนี้ไปยังผู้อื่นได้ด้วย ยาต้านไวรัส HIV คืออะไร ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน) ยาต้านหรือยารักษา HIV มีกี่แบบ ปัจจุบันยาต้าน ยารักษา…

| | |

มารู้จักเอดส์ กับระยะของการติดเชื้อ และผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสังเกตตนเองอย่างไร

ทุกคนรู้ดีว่า “เอดส์” คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีในการรักษาให้หายขาด แต่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงเพื่อต่อสู้กับโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเข้ามาหา ปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคนี้คือ การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคู่โดยไม่ป้องกันด้วยถุงยางอนามัย หรือห่วงอนามัย, การใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเชื้อเอดส์นี้จะไม่ติดต่อทางน้ำลายหรือการสัมผัสภายนอก อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่มีพฤติกรรมเสี่ยง การรู้ว่าเอดส์ระยะแรก และระยะถัด ๆ ไปเป็นอย่างไร จะช่วยด้านการดูแลตนเองอย่างดี เอดส์ระยะแรก แสดงอาการอย่างไร เอดส์ระยะแรกจะเรียกว่า ระยะเฉียบพลัน คือ อาการของร่างกายที่ได้รับเชื้อ HIV เข้ามาแล้วราว ๆ 2-3 สัปดาห์ จนเริ่มเกิดการฟักตัว สังเกตง่าย ๆ คือ มีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลียมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองบวม มีผื่นแดงและนูนที่ผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อ สาเหตุที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาเหล่านี้ขึ้นเพราะต้องการตอบสนองกับสิ่งแปลกปลอมภายนอกที่เข้ามาหา ประกอบกับเมื่อเชื้อ HIV เข้ามาตอนแรก ๆ จะแพร่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวมีปริมาณลดลงฉับพลัน ระยะนี้ถือว่าเป็นอันตรายในการแพร่ไปสู่ผู้อื่นเนื่องจากยังไม่รู้ว่าตนเองเป็นอะไร เมื่ออาการต่าง ๆ เริ่มดีขึ้นแสดงว่าการแพร่ของไวรัสอยู่ในสภาวะคงที่ เม็ดเลือดขาวก็จะค่อย…