ติดเชื้อ HIV ดูแลตัวเองอย่างไร

ติดเชื้อ HIV ดูแลตัวเองอย่างไร

การตรวจพบว่าตัวเอง ติดเชื้อ HIV และต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้ออาจเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ติดเชื้ออย่างมาก แต่ด้วยการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตที่มีสุขภาพดีได้ เพราะการดูแลตนเองเมื่อ ติดเชื้อ HIV เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม และการจัดการสภาพร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ นำเสนอเคล็ดลับและกลยุทธ์ที่จำเป็น เพื่อนำทางชีวิตในฐานะบุคคลที่ ติดเชื้อ HIV ตั้งแต่การเข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาลและการทำความเข้าใจตัวเลือกการรักษา ไปจนถึงการใช้พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ การป้องกันการแพร่เชื้อ การจัดการสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งข้อมูล การสนับสนุนที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ ติดเชื้อ HIV มีความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและมีความสุขขณะใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้ โดยการน้อมรับแนวทางปฏิบัติในการดูแลตนเองและการรับทราบข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

วิธีการรักษาผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี
|

วิธีการรักษาผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

ผื่นที่ผิวหนัง เป็นอาการทั่วไปเมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ขึ้น อาการมักจะเป็นสัญญาณเริ่มแรก และมักจะเกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างก่าย ซึ่งอาการผื่นอาจไม่ได้เป็นเกิดจากการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ได้ด้วย ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี อาจจะเรียกว่า ผื่นเอชไอวี หรือเอดส์เฉียบพลัน  เป็นผื่นเอชไอชวีเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดเชื้อ ผื่นจะปรากฏในส่วนเดียว หรือหลายส่วนของร่างกาย และอาจทำให้เกิดอาการคันที่ผืนด้วย  วิธีการสังเกตผื่น มีดังนี้ สังเกตดูว่าเป็นผื่นแดง บวมเล็กน้อย และคันมากๆ หรือไม่ ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะเป็นจุดด่างดวงบนผิวหนัง ถ้าเป็นคนผิวขาวก็จะเป็นจุดสีแดง แต่ถ้าเป็นคนผิวสีเข้มก็จะเป็นสีดำอมม่วง โดยความรุนแรงของผื่นจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นรุนแรงมากเป็นบริเวณกว้าง ในขณะที่บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น แต่ถ้าผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี เป็นผลมาจากยาต้านไวรัส ผื่นจะเป็นรอยแผลแดงบวมไปทั่วร่างกาย ผื่นแบบนี้เรียกว่า ผื่นแพ้ยา สังเกตว่าผื่นขึ้นตรงไหล่ หน้าอก ใบหน้า ท่อนบนของร่างกาย และมือหรือไม่ ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะขึ้นในบริเวณเหล่านี้ แต่ก็มักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทำให้บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการแพ้ หรือผิวหนังอักเสบ ซึ่งผื่นที่เกิดจากเอชไอวี ไม่สามารถติดต่อกันได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงว่าจะแพร่เชื้อเอชไอวี ผ่านทางผื่นสู่คนอื่นได้ สังเกตอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนที่เป็นผื่นเอชไอวี ผื่นเอชไอวีจะมีอาการเจ็บ…

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U
| | | |

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ U=U คืออะไร U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U…

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี
| | |

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยา PEP คืออะไร PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง การทานยาเป๊ป(PEP)  การทานยา เป๊ป(PEP)   จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง…

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเอชไอวี
| | |

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยาเพร็พ (PrEP) ยา PrEP ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น การใช้ยาเพร็พ (PrEP) สาเหตุที่ต้องรับยาเพร็พ (PrEP) การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP) หรือยาต้านก่อนเสี่ยงนั้น  เพื่อให้ร่างกายมีระดับยาที่เพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยต้องจะรับประทานยาติดต่อกันทุกวันตลอดช่วงที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ และการใช้ยาในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มยาว่าตนไม่มีเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว  ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ (PrEP) ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์ การใช้ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 %…

CD4 สำคัญอย่างไรกับผู้ติดเชื้อ HIV?

CD4 สำคัญอย่างไรกับผู้ติดเชื้อ HIV?

HIV เป็นเชื้อไวรัสที่จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่าง ๆ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจนอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะถูกเชื้อไวรัสเอชไอวีโจมตีจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้และก่อให้พัฒนาจนกลายเป็นโรคเอดส์ (AIDS) เต็มขั้น การตรวจวัดจำนวน CD3/CD4/CD8 ในกระแสเลือด ซึ่งเป็น CD ที่มีความจำเพาะกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่ต้องมีการกระตุ้น ( Adaptive Immune Response ) คือ กลุ่มเม็ดเลือดขาว ชนิดที่สร้างแอนติบอดี ( B cells ) หรือ กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นหน่วยความจำ ( T cells ) และมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย CD4 คืออะไร? CD4 cells ย่อมาจากคำว่า Cluster of Differentiation 4 บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells  CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรค…

 การตรวจเอชไอวี

 การตรวจเอชไอวี

หากพูดถึง การตรวจเอชไอวี (HIV) หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวและหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการตรวจเอชไอวี (HIV) นั้นยุ่งยาก ทำให้ไม่กล้ามาตรวจเพราะกลัว แต่จริงๆ แล้วการตรวจเอชไอวี HIV นั้นง่ายมาก เพียงแค่เจาะเลือดและรู้ผลได้เร็ว ที่สำคัญคนไทยทุกคน มีสิทธิตรวจฟรีถึงปีละ 2 ครั้ง แม้แต่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้โดยไม่ต้องมีผู้ปกครองอีกด้วยทำให้การตรวจเอชไอวี (HIV) นั้นง่ายและสะดวกกว่าเดิม เอชไอวี คืออะไร? เอชไอวี ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus คำว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” หมายความว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายของคนเราสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆได้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเรื่อยๆ ในที่สุดทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเอช ไอ วีจะไม่สามารถต้านการติดเชื้อต่างๆได้ เช่น วัณโรคหรือมะเร็ง: เราเรียกภาวะนี้เรียกว่า ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์ ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี การติดเชื้อเอชไอวีมีทั้งหมด 3 ระยะ โดยแต่ละระยะมีอาการที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ระยะเฉียบพลัน เป็นระยะที่เกิดขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีเชื้ออยู่ในเลือดเป็นจำนวนมาก และแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย ในช่วงแรกอาจมีอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกายจากการติดเชื้อ…

โรคเอดส์ (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome)

โรคเอดส์ (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome)

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าผิดว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอด์ เป็นโรคเดียวกัน จริงๆ แล้วผู้ที่ได้รับเชื้อเชื้อเอชไอวี ระยะแรกจะยังไม่เป็นโรคเอดส์จนผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จนผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ จึงจะเรียกว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคเอดส์คืออะไร? โรคเอดส์ (AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndromes)       A = Acquired    หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด       I = Immune     หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย       D = Deficiency  หมายถึง ความเสื่อมลง       S = Syndrome   หมายถึง กลุ่มอาการ หรืออาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะระบบใดระบบหนึ่ง โรคเอดส์  คือ กลุ่มอาการของโรคฉวยโอกาส เกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าไปจนถึงระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ เชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลดลง จนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย  ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนที่เรียกว่า…

วิธีการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไรให้ปลอดภัย
|

วิธีการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อคนในบ้านติดเชื้อเอชไอวี เราจะมีวิธีการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นให้ปลอดภัยได้อย่าง โดยเฉพาะคนในครอบครัวเดียวกันนั้น ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะนอกจากคอยให้กำลังใจแล้ว ยังต้องดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ และสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ยังคงมีมาก และพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในทุกๆ วัน แต่ยังคงไม่มีตัวยา ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ช่วยให้ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการแย่ลง และสามารถใช้ชีวิต ได้อย่างปกติทั่วไป  ปัจจุบันสังคมไทยมีความเข้าใจในด้านเอชไอวีมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีความกล้าๆ กลัวๆ อยู่ คือ ยังมีมุมมองที่ติดลบ ไม่กล้าเปิดใจ ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้มากขึ้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีว่าเป็นเชื้อที่ไม่ได้ติดกันง่ายๆ เอชไอวี เป็นไวรัสที่อยู่ตามสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็น เลือด น้านม อสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำในทวาร หรือน้ำลาย เป็นต้น โดยสามารถติดต่อกันได้ 3 ช่องทาง คือ  ทางการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน จากแม่สู่ลูก จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เพราะเป็นการส่งต่อเชื้อทางเลือด อะไรก็ตาม ที่สัมผัสกับเลือดก็มีโอกาสเสี่ยง ถ้าหากผิวหนังของเรา สัมผัสกับเลือดผู้ติดเชื้อ ไม่ถือว่าเป็นอันตราย เพราะผิวหนังของเรา สามารถกันเชื้อไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าเกิดคุณมีแผลตามผิวหนัง ก็มีโอกาสเสี่ยง…

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

การติดเชื้อเอชไอวีนับว่าเป็นปัญหาระดับโลกที่หน่วยงานระดับสากล ได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยมุ่งหวังที่จะลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ 100% แต่การพัฒนาที่ก้าวล้ำมากที่สุดในตอนนี้ คือการรักษาผู้ป่วยให้สามารถมีชีวิตร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้อย่างปกติ และที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนาชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ( HIV Self Test) ซึ่งมีส่วนช่วยในการตรวจคัดกรองเอชไอวีเบื้องต้นได้ง่ายดาย อีกทั้งยังเข้าถึงผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระดับครัวเรือนอย่างทั่วถึงมากขึ้นด้วยเช่นกัน ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองคืออะไร? ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ( HIV Self Test) คือ ชุดเครื่องมือที่ทางการแพทย์ที่ได้ออกแบบมาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทราบผลเลือดได้สามารถตรวจด้วยตัวเองอย่างสะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่านความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่ต้องการหรือไม่สะดวกในการเข้ารับการตรวจคัดกรองยังสถานพยาบาล เนื่องจากต้องการความเป็นส่วนตัวมากกว่า ซึ่งชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์ให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยชุดตรวจที่มีประสิทธิภาพจะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรระดับสากลอย่างถูกต้อง ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองดีไหม น่าเชื่อถือหรือไม่?  ข้อสงสัยนี้ถือว่าเป็นหัวข้อสำคัญที่หลายคนให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากไม่มั่นใจว่าการตรวจเอชไอวีด้วยตนเองนั้น จะมีความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพแม่นยำเช่นเดียวกับการตรวจภายในสถานพยาบาลหรือไม่ ประกอบกับสามารถพบเห็นการขายชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากมาย ซึ่งง่ายและราคาค่อนข้างถูกจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าความน่าเชื่อถือของชุดตรวจจะดีหรือไม่อย่างไร โดยจากการประกาศอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการอาหารและยา รวมถึงประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2562 ได้ปลดล็อกชุดตรวจเอชไอวีให้จำหน่ายได้อย่างถูกต้องในประเทศไทย ทั้งนี้จะต้องขึ้นทะเบียนและมีคุณสมบัติต่าง ๆ ตามกำหนดอย่างเคร่งครัด หากผู้ที่ต้องการใช้งานชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองเลือกซื้อผ่านแหล่งจำหน่ายที่ได้มาตรฐานย่อมส่งผลให้ได้รับชุดตรวจที่เชื่อถือได้เช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญคือคุณสามารถหาซื้อได้อย่างสะดวกไม่ต้องเดินทางไปตรวจให้เสียเวลา ไม่ต้องเสียความเป็นส่วนตัวทางด้านข้อมูลให้ลำบากใจอีกต่อไป ทั้งนี้ยังได้รับผลการตรวจที่แม่นยำเทียบเท่าการตรวจในสถานพยาบาลอีกด้วย ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองแตกต่างจากการตรวจที่สถานพยาบาลอย่างไร? ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง มีความแตกต่างจากการตรวจในสถานพยาบาล ในเรื่องของ การสอบถามประวัติ อาการ และความเสี่ยงที่ได้รับที่คาดว่าอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินความเสี่ยงจากระยะเวลา…