Untransmittable
| | | |

Untransmittable ความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงชีวิตและสังคม

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “Untransmittable” ที่มาพร้อมแนวคิด “ตรวจไม่เจอ = ไม่แพร่เชื้อ” (U=U) ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการแพทย์และสังคมทั่วโลก แนวคิดนี้ไม่เพียงแค่ช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV แต่ยังเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการยอมรับในสังคมต่อผู้ที่มีเชื้อ HIV ด้วย

ติดเชื้อ HIV ดูแลตัวเองอย่างไร

การตรวจพบว่าตัวเอง ติดเชื้อ HIV และต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้ออาจเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ติดเชื้ออย่างมาก แต่ด้วยการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตที่มีสุขภาพดีได้ เพราะการดูแลตนเองเมื่อ ติดเชื้อ HIV เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม และการจัดการสภาพร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ นำเสนอเคล็ดลับและกลยุทธ์ที่จำเป็น เพื่อนำทางชีวิตในฐานะบุคคลที่ ติดเชื้อ HIV ตั้งแต่การเข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาลและการทำความเข้าใจตัวเลือกการรักษา ไปจนถึงการใช้พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ การป้องกันการแพร่เชื้อ การจัดการสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งข้อมูล การสนับสนุนที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ ติดเชื้อ HIV มีความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและมีความสุขขณะใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้ โดยการน้อมรับแนวทางปฏิบัติในการดูแลตนเองและการรับทราบข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

| | | |

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ U=U คืออะไร U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U…

| | |

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยา PEP คืออะไร PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง การทานยาเป๊ป(PEP)  การทานยา เป๊ป(PEP)   จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง…

| | |

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยาเพร็พ (PrEP) ยา PrEP ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น การใช้ยาเพร็พ (PrEP) สาเหตุที่ต้องรับยาเพร็พ (PrEP) การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP) หรือยาต้านก่อนเสี่ยงนั้น  เพื่อให้ร่างกายมีระดับยาที่เพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยต้องจะรับประทานยาติดต่อกันทุกวันตลอดช่วงที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ และการใช้ยาในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มยาว่าตนไม่มีเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว  ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ (PrEP) ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์ การใช้ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 %…

| | | |

15 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

ถึงแม้ว่าโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะมีมานานมากแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ทำให้ปัจจุบันต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี หรือการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง เอชไอวี คืออะไร เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์ คืออะไร เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ 1. โรคเอดส์ กับ เชื้อเอชไอวี เป็นคนละตัวกัน HIV คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ส่วนโรคเอดส์ คือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เชื้อเอชไอวีทำลาย 2. โรคเอดส์ ยังมีโอกาสรอดชีวิต…

| | |

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์กับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ การติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นต้องมีอาการเอดส์ หากรู้เร็วด้วย การตรวจเลือด และรักษาเร็วด้วยยาต้านไวรัส โดยสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยที่สุด คือ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ สัมผัสเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่น้ำนมแม่ก็สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน การติดเชื้อเอชไอวีแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน คือ ระยะที่รับเชื้อมาใหม่ๆ หรือช่วงระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อมา โดยผู้ติดเชื้อบางส่วนจะมีอาการคล้ายไข้หวัด มีอาการ มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่น และปวดหัว อาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ…