ยาเพร็พ (PrEP)
| | |

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยาเพร็พ (PrEP) ยา PrEP ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น การใช้ยาเพร็พ (PrEP) สาเหตุที่ต้องรับยาเพร็พ (PrEP) การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP) หรือยาต้านก่อนเสี่ยงนั้น  เพื่อให้ร่างกายมีระดับยาที่เพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยต้องจะรับประทานยาติดต่อกันทุกวันตลอดช่วงที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ และการใช้ยาในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มยาว่าตนไม่มีเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว  ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ (PrEP) ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์ การใช้ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 %…

|

ออรัล เซ็กส์ (Oral Sex) อย่างไรให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อโรคร้าย

ออรัล เซ็กส์ ถือเป็นวิธีการมีเพศสัมพันธ์ อย่างหนึ่งที่ทำให้คู่รักรู้สึกเพลิดเพลิน หากทั้งสองฝ่ายยินยอมพร้อมใจ แต่ในบางครั้งการทำออรัลเซ็กส์อาจนำมาซึ่งโรคร้ายต่าง ๆ ได้ เช่น โรคติดเชื้อเอชพีวี ซิฟิลิส หรือแม้กระทั่งโรคเอดส์ ดังนั้น ก่อนจะทำออรัล เซ็กส์ ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค และการทำออรัล เซ็กส์อย่างปลอดภัย ออรัล เซ็กส์ (Oral Sex) คือ อะไร ? การใช้ช่องปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น ในการกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศชาย อวัยวะเพศหญิง ทวารหนัก หรือส่วนที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณดังกล่าว เพื่อให้คู่นอนอีกฝ่ายเกิดอารมณ์ทางเพศ ซึ่งทำได้ทั้งคู่รักเพศเดียวกันและคู่รักต่างเพศ การออรัล เซ็กส์นั้นเป็นสิ่งที่ทั้งผู้ชาย และผู้หญิงต่างปรารถนาเป็นอย่างมาก บางคนเพียงแค่ถูก ออรัล เซ็กส์ก็สามารถเสร็จได้โดยไม่ต้องสอดใส่ ข้อดีของออรัล เซ็กส์ คืออะไร ไม่ทำให้ท้อง และทำให้ฝ่ายหญิง และฝ่ายชายพอใจในเพศรสมากขึ้น และมีคนกลุ่มไม่น้อยที่ชอบออรัล เซ็กส์ มากกว่าการมีเซ็กส์จริงๆ เสียอีก ข้อเสียของออรัล เซ็กส์ คืออะไร สามารถติดโรคได้ทุกโรค เนื่องจากการกลืนน้ำหล่อลื่นฝ่ายหญิง…

| | | |

15 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

ถึงแม้ว่าโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะมีมานานมากแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ทำให้ปัจจุบันต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี หรือการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง เอชไอวี คืออะไร เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์ คืออะไร เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ 1. โรคเอดส์ กับ เชื้อเอชไอวี เป็นคนละตัวกัน HIV คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ส่วนโรคเอดส์ คือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เชื้อเอชไอวีทำลาย 2. โรคเอดส์ ยังมีโอกาสรอดชีวิต…

รู้เท่าทันปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Headache)

อาการปวดศีรษะสามารถเกิดขึ้นก่อน และระหว่างมีกิจกรรมทางเพศได้ หรือตอนที่ถึงจุดสุดยอด หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ไปแล้วหลายชั่วโมงก็ยังปวดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยตัวเอง หรือตอนออรัล เซ็กส์ อาการอาจจะดูไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรที่จะปล่อยไว้ เพื่อเป็นปัญหาทำลายความสุขในชีวิตรักได้ การปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์(Sexual Headache)  คือ อาการปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์นั้น เป็นอาการปวดหัวที่หาได้ยาก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างการมีเซ็กส์และหลังจากการมีเซ็กส์ แต่โดยปกติแล้วมักจะเกิดขึ้นหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการสำเร็จความใคร่ โดยที่อาการปวดหัวนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรค หรือความผิดปกติของร่างกายอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว คุณอาจจะรู้สึกว่ามีอาการปวดตุบๆที่บริเวณศีรษะและลำคอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างที่กำลังทำกิจกรรมทางเพศ หรืออาจจะมีอาการปวดหัวจี๊ดขึ้นมาอย่างรุนแรงขณะสำเร็จความใคร่ อาการปวดมักจะมีอาการปวดหัวอย่างหนักนานไม่เกิน 1 วัน และอาการปวดเบาๆ อีกไม่เกิน 3 วัน อาการปวดนี้จะคล้ายกันอาการคล้ายกับอาการปวดหัวไมเกรน สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ และพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เช็คอาการผิดปกติ หากมีอาการปวดศีรษะ ปวดตื้อๆ บริเวณศีรษะ และลำคอ มักเกิดเมื่อมีความตื่นเต้น และแรงกระตุ้นทางเพศที่สูงขึ้นในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดตั้งแต่เริ่มเกิดขึ้นก่อน ระหว่างทำกิจกรรมทางเพศ หรือเสร็จการทำกิจกรรทางเพศแล้วนั้น โดยอาจปวดเพียงครู่เดียว หรือต่อเนื่องกันหลายนาที หลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวัน  ผู้ที่มีความเสี่ยงอาการปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์ ทำไมมีเพศสัมพันธ์แล้วถึงปวดหัว สาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละคน แต่สาเหตุที่พบกันบ่อยๆ ก็จะมีประมาณนี้ ทำไมปวดหัวตอนช่วยตัวเอง…

|

ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 กับ HIV-2

เชื้อไวรัสเอชไอวี  จัดเป็นไวรัสชนิด RNA ใน subfamily Lentivirinae มีเอนไซม์ที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ เอนไซม์รีเวอร์สทรานสคริพเตส (Reverse transcriptase, RT)  สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอชไอวี สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นเชื้อที่สามารถกลายพันธุ์(Mutatuion)ได้รวดเร็ว ในร่างกายของผู้ติดเชื้อคนๆหนึ่งจะพบเชื้อไวรัสเอชไอวีสายพันธุ์ต่างๆ ได้หลายชนิด จึงต้องมีการจัดจำแนกชนิดของเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยใช้ข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นเกณฑ์ในการคัดกรอง โดยสามารถแบ่งออกเป็น types, groups และ subtypes เชื้อไวรัสเอชไอวีมี 2 ชนิด ได้แก่ HIV type 1 (HIV-1) และ HIV type 2 (HIV-2) ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 กับ HIV-2 การแพร่เชื้อ HIV-2 ส่งต่อได้ยากกว่า HIV-1 เพราะรูปแบบการแพร่เชื้อ HIV-2 ที่พบบ่อยที่สุดคือ  การวินิจฉัย ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่าง HIV-1 และ HIV-2 หมายความว่า หากบุคคลทำการทดสอบ…

| |

ถุงยางอนามัย ป้องกันโรค ป้องกันลูก

ถุงยางอนามัยมีความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิด ในปัจจุบัน มีถุงยางอนามัยให้เลือกใช้ ทั้งแบบสำหรับสตรีและแบบสำหรับบุรุษ  ถุงยางอนามัยคือ? ถุงยางอนามัย (Condom) มาจากภาษาละติน แปลว่า ภาชนะที่รองรับ ทำด้วยวัสดุจากยางพารา หรือโพลียูรีเทน โดยฝ่ายชายเป็นฝ่ายใช้สวมครอบอวัยวะเพศของตนเอง  และเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้เป็นอันดับต้นๆ สำหรับช่วยป้องกันการคุมกำเนิด และช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ซึ่งปัจจุบันมีการผลิต และพัฒนาถุงยางอนามัยออกสู่ตลาดจำนวนมาก ในหลากหลายแบบให้เลือก ทั้งที่มีสีสัน ผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ มีกลิ่น และรสผลไม้ รวมทั้งมีรูปทรงที่แปลกตามากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบเน้นวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป ทำไมจึงต้องใส่ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพราะ ถุงยางอนามัยจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ อย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อการคุมกำเนิด หรือเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน หูดหงอนไก่ เชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นต้น  ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัย ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ซึ่งสามารถป้องกันได้มากถึงร้อยละ 98% ชนิดของถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยที่มีการผลิตจำหน่ายมี 3 ชนิด โดยแบ่งตามวัสดุที่ใช้ ได้แก่ 1) ชนิดที่ทำจากลำไส้สัตว์ (Skin condom) วัสดุที่ใช้ผลิตเป็นส่วนของลำไส้ส่วนล่างของแกะ ที่เรียกว่า…

โรคหนองใน สาเหตุ, อาการ, การรักษา

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน   โดยสามารแบ่งประเภทเชื้อที่เป็นต้นเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น ๆ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส  เชื้อรา พยาธิ เป็นต้น โรคหนองใน (Gonorrhoea) คืออะไร? โรคหนองใน หรือโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้บ่อยมากที่สุดอีกโรคหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย   เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า    ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoea)  ระยะฟักตัวของโรค หลังจากที่ได้รับเชื้อ ก็มักจะแสดงอาการภายใน 2 – 10 วัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะแสดงอาการภายใน 5 วัน สาเหตุของโรคหนองใน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า โกโนค็อกคัส (Gonococcus)…

ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีผลกระทบต่อทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อบางอย่างสามารถรักษาได้เพื่อให้คุณ และคู่นอนของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรง และคุณเองสามารถป้องกันตัวเองจากการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ STI  คืออะไร? โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections; STI)  คือ การติดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยผ่านการจูบ, การสัมผัสหรือถูอวัยวะเพศ, การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (การใช้ปากกับอวัยวะเพศ), การร่วมเพศ (องคชาตในช่องคลอด องคชาตในทวารหนัก), การใช้เซ็กซ์ทอย รวมถึง การติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด ใครเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ? เมื่อไหร่ที่ควรมาตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์? จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อสงสัยว่าอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ? เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเพิ่งมีความเสี่ยงในการติดโรค ควรรีบปรึกษาแพทย์ และงดการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นจนกว่าจะทราบผลการตรวจ ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย และแนะนำให้คู่นอนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจรักษาด้วย  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย และไม่หาย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาไม่หายขาด วิธีการป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำอย่างไรได้บ้าง อ่านบทความอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

| |

มีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย

เรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญของทุกคน การป้องกันก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน การมีเซ็กส์ยังไงให้ปลอดภัย เพื่อการป้องกัน และลดความเสี่ยงการติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์ Safe Sex คืออะไร  คือ การมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์กันอย่างปลอดภัย ซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่ามีเพียงแค่การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยมีมากกว่านั้น อย่างเช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าการช่วยตัวเอง ซึ่งวิธีอย่างหนึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ร้ายแรง หรือน่ารังเกียจ ทำไมต้อง Safe Sex?  การ Safe Sex หรือการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี, โรคเอดส์, ซิฟิลิส, หนองใน ฯลฯ หรือช่วยในการคุมกำเนิด ตั้งท้องในขณะที่ยังไม่พร้อม  การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นไปได้หรือไม่  เป็นไปได้ หากเรามีความรู้ และการเข้าใจในการมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์ อย่างถูกต้อง ทำให้เรามีเซ็กส์อย่างปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Safe Sex มีแบบไหนบ้าง? แบบที่ 1 ก่อนที่จะมี Sex กับใครได้โปรดตรวจเลือดเพื่อความชัวร์!  แม้ว่าเราจะมั่นใจในตัวเอง…

| | |

การป้องกันการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส

โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ป่วยนั้นถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานต่อโรค หรือการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรโตซัว ซึ่งปกติไม่ทำให้เกิดโรคในคนที่มีสุขภาพปกติ แต่สามารถเกิดได้กับผู้ป่วย บางครั้งอาจรุนแรงเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โรคติดเชื้อฉวยโอกาส คืออะไร โรคติดเชื้อฉวยโอกาส Opportunistic Infections คือ การติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคที่จะไม่ค่อยเกิดกับคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์ดี แต่สามารถทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้  โดยติดเชื้อที่เกิดจาก แบคทีเรีย , เชื้อรา , ปรสิต หรือไวรัส  ประเภทของการติดเชื้อฉวยโอกาส เชื้อโรคหลากหลายชนิดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อฉวยโอกาสซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้ แบคทีเรีย เชื้อรา ปรสิต ไวรัส การติดโรคฉวยโอกาสที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ CD4 อยู่ในระดับต่าง ๆ จำนวน CD4 อยู่ในระดับ 200-500/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ100-200/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ50-100/µL จำนวน CD4 อยู่ในระดับ < 50…