รักษาหูดข้าวสุก ด้วยตัวเอง ทำได้หรือไม่

รักษาหูดข้าวสุก ด้วยตัวเอง ทำได้หรือไม่

หลายคนสงสัยว่าการ รักษาหูดข้าวสุก นั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองจริงหรือเปล่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทำได้ยากเพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าติดเชื้อมาตอนไหน และลักษณะของตุ่มก็มีความคล้ายคลึงกับโรคผิวหนังชนิดอื่นด้วย หากคิดจะ รักษาหูดข้าวสุก ควรทำการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้โดยตรงจะดีที่สุด ซึ่งวันนี้ เราจะมาแนะนำเรื่องเกี่ยวกับการรักษาหูดข้าวสุกและการป้องกันที่คุณควรรู้เพื่อจะได้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ครับ หูดข้าวสุก คือโรคอะไรกันแน่? โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Molluscum Contagiosum Virus : MCV (มอลลัสคุม คอนทาจิโอซุมไวรัส) เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มพอกซ์ไวรัส (Poxvirus) ที่มักพบในบริเวณผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น โดยจะแบ่งออกเป็นไวรัส MCV 4 ชนิดย่อย แต่ชนิดที่ 1 จะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหูดข้าวสุกได้มากกว่า 95% แลไวรัสนี้ไม่มีผลต่อระบบภายในร่างกาย รวมไปถึงไม่แพร่กระจายโดยการจามหรือไอ ถือเป็นโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อกันได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งเชื้อจะเข้าไปในบริเวณผิวหนังที่เป็นแผล ลอก แตก จนทำให้เกิดตุ่มเนื้อ และมีรอยนูนขนาดเล็กทั่วร่างกาย แต่จะไม่ขึ้นตุ่มที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เหมือนกับโรคซิฟิลิส และไม่ได้ส่งผลต่อระบบอวัยวะภายในมากนัก อาการของโรคหูดข้าวสุก ถึงแม้ว่า โรคนี้จะไม่ได้มีอาการที่รุนแรง แต่ทุกคนก็ควรได้รับการ รักษาหูดข้าวสุก ระยะฟักตัวตั้งแต่ได้รับเชื้อไวรัสนี้มาจะเกิดอาการประมาณ 14 วันขึ้นไป ถึง 6 เดือน โดยอาการที่อาจสังเกตพบได้ มีดังต่อไปนี้…

เริมที่อวัยวะเพศ รักษาอย่างไร

เริมที่อวัยวะเพศ เป็นหนึ่งในโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ หากคุณมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ ซึ่งพบได้ทุกเพศทุกวัย ยิ่งเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ที่มีโอกาสจะมีเซ็กส์กับคนแปลกหน้าได้ และทำให้ติดโรคเริมที่อวัยวะเพศมา ความน่ากลัวของเชื้อเริมนี้ คือ เมื่อคุณติดแล้วจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกเรื่อยๆ ไม่สามารถหายขาดได้อย่างสนิทใจสักที หากคุณไม่ทำการรักษาก็จริงลุกลามเป็นแผล ส่งผลให้รู้สึกขาดความมั่นใจได้ครับ เริมที่อวัยวะเพศ มีสาเหตุจากอะไร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างเริมที่อวัยวะเพศนั้น จัดเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสยอดฮิตที่ชื่อ เอชเอสวี (HSV : Herpes Simplex Virus) อ่านว่า เฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ไวรัส แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เริมที่อวัยวะเพศ ติดต่อง่ายแค่ไหน เริมที่อวัยวะเพศนี้ติดต่อกันได้ง่ายแม้ไม่ได้มีการสอดใส่หรือร่วมเพศระหว่างกันก็ตาม เพราะสามารถติดกันได้จากการสัมผัสเชื้อผ่านแผลและเยื่อบุต่างๆ เช่น การใช้มือสัมผัสเชื้อของผู้ที่เป็นเริมและนำมาจับอวัยวะเพศของตัวเอง ก็ทำให้เกิดการถ่ายทอดเชื้อได้ หรือแม้แต่การใส่ถุงยางอนามัยที่เราอาจจับโดนเชื้อแล้วมาจับที่อวัยวะเพศก่อนสวมถุงยางอนามัย จึงทำให้ไม่ช่วยป้องกันเชื้อเริมได้ทั้งหมด ที่สำคัญ เรายังมีโอกาสที่จะติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศจากแฟนหรือคู่นอนที่ไม่มีอาการ หรือแผลเริมได้อีกด้วย เนื่องจากอาการที่เคยเป็นหายไปแล้วเรียบร้อยและไม่มีรอยโรคที่สังเกตเห็นได้ ซึ่งจะแพร่เชื้อได้มากที่สุดในช่วง 1 ปีแรกหลังการติดเชื้อนั่นเอง อาการของเริมที่อวัยวะเพศ ในระยะแรกที่ติดเชื้อซึ่งจะมีระยะฟักตัวประมาณ 4-5 วัน จึงจะเริ่มแสดงอาการ และแพร่ไปตามแนวเส้นประสาท เกิดการลามเป็นบริเวณกว้างไปในบริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้…

หูดหงอนไก่ (Genital warts)

หูดหงอนไก่ (Genital warts) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มๆ มีผิวขรุขระคล้ายหงอนไก่ ขึ้นที่บริเวณอวัยะเพศ สามารถพบได้ทั้งในชายและหญิง สาเหตุหลักพบว่า 90% มาจากการติดเชื้อไวรัส (Human Papilloma Virus : HPV) หูดหงอนไก่สาเหตุมาจากอะไร ? สาเหตุของหูดหงอนไก่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีเชื้อชนิดนี้กว่า 200 สายพันธุ์ย่อย บางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดที่ผิวหนัง บางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ บางสายพันธุ์ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์และทางเดินอุจจาระ สำหรับเชื้อที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่นั้น พบว่าประมาณ 90% เกิดจากสายพันธุ์ย่อย 6 และ 11 อาการหูหงอนไก่ หูดหงอนไก่ ทำให้เกิดติ่งเนื้อผิวขรุขระ ลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ไม่คัน ไม่ระคายเคืองสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถขึ้นได้ที่องคชาติ หนังหุ้มปลาย ทวารหนัก ช่องคลอด ปากมดลูก หากไม่ทำการรักษาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และเกิดมะเร็งตามมา ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งองคชาติ เป็นต้น ใครบ้างที่ควรตรวจหูดหงอนไก่ ? หูดหงอนไก่ป้องกันได้อย่างไร ?…

|

ไวรัสตับอักเสบบี มีสาเหตุมาจากอะไร?

ไวรัสตับอักเสบบี เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ยังถูกพบจำนวนมาก ในประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่โรคร้ายแรงต่อตับของร่างกาย ได้แก่ โรคมะเร็งตับ โรคตับแข็ง และโรคตับวาย เป็นต้น ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ทราบว่าตัวเองติดไวรัสตับอักเสบบีอยู่ เพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจว่าโรคชนิดนี้มีสาเหตุมาจากอะไร โดยบทความนี้จะแสดงรายละเอียดถึงโรคไวรัสตับอักเสบบีทั้งหมด รู้จักไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบบี หรือภาษาอังกฤษว่า Hepatitis B virus : HBV เมื่อผู้ติดเชื้อได้รับไวรัสชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ การทำงานของตับเสื่อมลงเพราะเกิดพังผืดค่อยๆ เกาะหลายปี อันส่งผลให้มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด จากสถิติพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งตับร้อยละ 90 มีประวัติเคยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบมาก่อน อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี ความเป็นจริง โรคไวรัสตับอักเสบบี ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะมีอาการแสดงออกมาให้เห็นชัดๆ หรือในบางรายจะเข้าสู่ระยะอาการแบบเฉียบพลันเท่านั้น และอาการส่วนใหญ่ที่สามารถสังเกตได้ คือ ประมาณ 10-20% ของคนที่ติดเชื้อไวรัสอักเสบบีจะหายจากโรคไปได้เอง เพราะภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล หากเข้าสู่ระยะเรื้อรังแล้ว ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อกันอย่างไร เชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะสามารถติดต่อกันผ่านทางเลือด และสารคัดหลั่งของมนุษย์เป็นหลัก การที่จะรู้ได้ว่าคุณติดเชื้อแล้วหรือไม่ จะต้องมีการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้ ความเสี่ยงเหล่านี้ อาจทำให้คุณติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี ได้ ไวรัสตับอักเสบบี…

|

วิธีการรักษาผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

ผื่นที่ผิวหนัง เป็นอาการทั่วไปเมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ขึ้น อาการมักจะเป็นสัญญาณเริ่มแรก และมักจะเกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างก่าย ซึ่งอาการผื่นอาจไม่ได้เป็นเกิดจากการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ได้ด้วย ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี อาจจะเรียกว่า ผื่นเอชไอวี หรือเอดส์เฉียบพลัน  เป็นผื่นเอชไอชวีเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดเชื้อ ผื่นจะปรากฏในส่วนเดียว หรือหลายส่วนของร่างกาย และอาจทำให้เกิดอาการคันที่ผืนด้วย  วิธีการสังเกตผื่น มีดังนี้ สังเกตดูว่าเป็นผื่นแดง บวมเล็กน้อย และคันมากๆ หรือไม่ ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะเป็นจุดด่างดวงบนผิวหนัง ถ้าเป็นคนผิวขาวก็จะเป็นจุดสีแดง แต่ถ้าเป็นคนผิวสีเข้มก็จะเป็นสีดำอมม่วง โดยความรุนแรงของผื่นจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นรุนแรงมากเป็นบริเวณกว้าง ในขณะที่บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น แต่ถ้าผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี เป็นผลมาจากยาต้านไวรัส ผื่นจะเป็นรอยแผลแดงบวมไปทั่วร่างกาย ผื่นแบบนี้เรียกว่า ผื่นแพ้ยา สังเกตว่าผื่นขึ้นตรงไหล่ หน้าอก ใบหน้า ท่อนบนของร่างกาย และมือหรือไม่ ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะขึ้นในบริเวณเหล่านี้ แต่ก็มักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทำให้บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการแพ้ หรือผิวหนังอักเสบ ซึ่งผื่นที่เกิดจากเอชไอวี ไม่สามารถติดต่อกันได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงว่าจะแพร่เชื้อเอชไอวี ผ่านทางผื่นสู่คนอื่นได้ สังเกตอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนที่เป็นผื่นเอชไอวี ผื่นเอชไอวีจะมีอาการเจ็บ…

กามโรคเป็นแล้วรักษาหายได้ไหม?

กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก เดิมมีชื่อว่า กามโรค (venereal diseases) ในปัจจุบันมีการค้นพบโรคในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted infections, STIs) โรคที่สำคัญคือ ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี กามโรค (Venereal Disease)  คืออะไร กามโรค (Venereal Disease) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) หรือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เป็นโรคที่แพร่เชื้อกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทั้งการสอดใส่ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทำออรัลเซ็กส์ ซึ่งติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสผิวหนังที่เป็นโรค หรือสัมผัสเลือด อสุจิ เมือกในช่องคลอด และของเหลวอื่น ๆ ที่มาจากร่างกาย ทั้งนี้ กามโรคติดต่อกันได้โดยไม่ใช่จากการร่วมเพศเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการติดต่อทางสายเลือด การถ่ายเลือด การใช้เข็มหรือสิ่งของที่สัมผัสเลือด มูก หรือของเหลวของผู้ป่วยที่มีเชื้อ กามโรคเชื้อร้ายกลายพันธุ์ พัฒนาเป็น ซูเปอร์กามโรค 4 ชนิด 1….

| | | |

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ U=U คืออะไร U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U…

| | |

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินป้องกันเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รู้จักยา PEP คืออะไร PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง การทานยาเป๊ป(PEP)  การทานยา เป๊ป(PEP)   จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง…

| | |

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่พบได้มากในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ จะมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรืออาการภาวะแทรกซ้อนระยะเริ่มต้น คือ ผิวหนังเป็นเริม งูสวัสดิ์ ฝี เชื้อรา ผื่น กลากเกลื้อน แผลเรื้อรัง ลิ้นเป็นฝ้าขาว แบบโรคเชื้อรา เป็นไข้ และไอเรื้อรัง แบบวัณโรคปอด เป็นไข้ ไอ หอบ แบบปอดอักเสบ เป็นไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง ก้มไม่ได้ (ก้มยาก) แบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขน ขา ชา อ่อนแรง แบบไขสันหลังอักเสบ ซีด มีจุดแดง จ้ำเขียว หรือเลือดออก แบบโรคเลือด ท้องเดินเรื้อรัง แบบมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน ที่อาจพบได้ และค่อนข้างเป็นอันตราย ได้แก่ อ่านบทความอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

|

โรคเริม โรคติดต่อทางผิวหนัง ที่เราป้องกันได้

เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยมักพบผู้ป่วยวัยหนุ่มสาว และวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเริมส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการของโรค  หากเป็นแล้วสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะเมื่อเป็นแล้วอาจทำให้การรักษาให้หายขาดได้ยาก โรคเริม (Herpes) คืออะไร เริม (Herpes) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆที่พบบ่อยมากบริเวณปาก และอวัยวะเพศแล้ว ทำให้มีลักษณะพุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด ซึ่งหายได้เอง แต่มักกำเริบซ้ำและเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมักมีอาการกำเริบได้บ่อยและรุนแรงกว่าปกติ   ระยะฟักตัวของโรค หลังจากได้รับเชื้อครั้งแรกจนกระทั่งแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 2-20 วัน สาเหตุการเกิดโรคเริม โดยเชื้อไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การติดเชื้อทั้ง 2  ชนิดนั้น สามารถเป็นปัจจัยสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกายได้เช่นกัน เมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น การติดเชื้อที่สมอง และอวัยวะสำคัญต่างๆ HSV-1 และ HSV-2 เหมือนกันหรือไม่ ?…