Undetectable
| | | | |

Undetectable แล้วไม่ป้องกันได้ไหม ปลอดภัยจริงไหม?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวคิด หรือ “U=U” ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการแพทย์และสาธารณสุข โดยคำว่า “Undetectable” หมายถึงการที่ปริมาณไวรัส HIV ในเลือดของผู้ติดเชื้อลดต่ำจนไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการทดสอบมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ติดเชื้อได้รับการบำบัดด้วยยาต้านไวรัส (ART) อย่างสม่ำเสมอ แนวคิด U=U เป็นที่ยอมรับทางวิทยาศาสตร์ว่า ผู้ที่มีปริมาณไวรัส HIV ต่ำจนตรวจไม่พบ ไม่สามารถแพร่เชื้อให้คู่นอนผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม คำถามที่หลายคนยังคงสงสัยคือ ถ้าไวรัสตรวจไม่พบแล้ว สามารถมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยได้ไหม และมันปลอดภัยจริงหรือ?

| | | |

Untransmittable ความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงชีวิตและสังคม

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “Untransmittable” ที่มาพร้อมแนวคิด “ตรวจไม่เจอ = ไม่แพร่เชื้อ” (U=U) ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการแพทย์และสังคมทั่วโลก แนวคิดนี้ไม่เพียงแค่ช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV แต่ยังเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการยอมรับในสังคมต่อผู้ที่มีเชื้อ HIV ด้วย

ทำไม คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องตรวจ HIV

การตรวจ HIV สำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ HIV จากแม่ไปยังลูกน้อย ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด หรือการให้นมบุตรได้ ซึ่งประเภทของการแพร่เชื้อชนิดนี้ เรียกว่า การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก ในบทความนี้ เราจะบอกเหตุผลที่ทำไม คุณแม่ตั้งครรภ์ หรือผู้ที่วางแผนจะมีบุตร จำเป็นต้องได้รับการตรวจ HIV รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการแพร่เชื้อนี้ และมีขั้นตอนใดที่สามารถทำ เพื่อลดความเสี่ยงที่อันตรายได้

| | | |

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นกลุ่ม U=U

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ U=U คืออะไร U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U…

| | | |

15 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

ถึงแม้ว่าโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะมีมานานมากแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ทำให้ปัจจุบันต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี หรือการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง เอชไอวี คืออะไร เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์ คืออะไร เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ 1. โรคเอดส์ กับ เชื้อเอชไอวี เป็นคนละตัวกัน HIV คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ส่วนโรคเอดส์ คือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เชื้อเอชไอวีทำลาย 2. โรคเอดส์ ยังมีโอกาสรอดชีวิต…

|

ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 กับ HIV-2

เชื้อไวรัสเอชไอวี  จัดเป็นไวรัสชนิด RNA ใน subfamily Lentivirinae มีเอนไซม์ที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ เอนไซม์รีเวอร์สทรานสคริพเตส (Reverse transcriptase, RT)  สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอชไอวี สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นเชื้อที่สามารถกลายพันธุ์(Mutatuion)ได้รวดเร็ว ในร่างกายของผู้ติดเชื้อคนๆหนึ่งจะพบเชื้อไวรัสเอชไอวีสายพันธุ์ต่างๆ ได้หลายชนิด จึงต้องมีการจัดจำแนกชนิดของเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยใช้ข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นเกณฑ์ในการคัดกรอง โดยสามารถแบ่งออกเป็น types, groups และ subtypes เชื้อไวรัสเอชไอวีมี 2 ชนิด ได้แก่ HIV type 1 (HIV-1) และ HIV type 2 (HIV-2) ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 กับ HIV-2 การแพร่เชื้อ HIV-2 ส่งต่อได้ยากกว่า HIV-1 เพราะรูปแบบการแพร่เชื้อ HIV-2 ที่พบบ่อยที่สุดคือ  การวินิจฉัย ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่าง HIV-1 และ HIV-2 หมายความว่า หากบุคคลทำการทดสอบ…

| | | |

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง?

 การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเราได้ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน 1. การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง  หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรดำเนินการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิกได้ทันที การตรวจแบบคัดกรองนี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2. การตรวจยืนยัน คือ การตรวจยืนยัน อีกครั้งหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมาแล้ว และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี  ทำไมถึงต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน…

| | |

ทำความเข้าใจก่อนใช้ยาเพร็พ และยาเป๊ป

สิ่งสำคัญของยาต้านไวรัสเอชไอวีคือ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งก่อนและหลังการสัมผัสเชื้อ หากพูดถึงวิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นวิธีป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น แต่ต้องใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวี PrEP และPEP  ว่าทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี PrEP และ PEP คืออะไร? เพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ หรือเป็นการใช้ยาเพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนจะมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อ เป๊ป (PEP- Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบที่เพิ่งได้สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง PrEP & PEP ทำงานอย่างไร? กลไกของยา PrEP จะไปสะสมอยู่ในเม็ดเลือดขาวในเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะที่เป็นช่องทางเข้าของเชื้อเอชไอวี เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนัก เยื่อบุอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ฯลฯ เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าไปในร่างกายในช่องทางดังกล่าว เชื้อก็จะถูกยาที่สะสมอยู่ก่อนหน้านั้นยับยั้งไม่ให้แบ่งตัว…

 การตรวจเอชไอวี

หากพูดถึง การตรวจเอชไอวี (HIV) หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวและหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการตรวจเอชไอวี (HIV) นั้นยุ่งยาก ทำให้ไม่กล้ามาตรวจเพราะกลัว แต่จริงๆ แล้วการตรวจเอชไอวี HIV นั้นง่ายมาก เพียงแค่เจาะเลือดและรู้ผลได้เร็ว ที่สำคัญคนไทยทุกคน มีสิทธิตรวจฟรีถึงปีละ 2 ครั้ง แม้แต่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้โดยไม่ต้องมีผู้ปกครองอีกด้วยทำให้การตรวจเอชไอวี (HIV) นั้นง่ายและสะดวกกว่าเดิม เอชไอวี คืออะไร? เอชไอวี ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus คำว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” หมายความว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายของคนเราสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆได้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเรื่อยๆ ในที่สุดทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเอช ไอ วีจะไม่สามารถต้านการติดเชื้อต่างๆได้ เช่น วัณโรคหรือมะเร็ง: เราเรียกภาวะนี้เรียกว่า ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์ ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี การติดเชื้อเอชไอวีมีทั้งหมด 3 ระยะ โดยแต่ละระยะมีอาการที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ระยะเฉียบพลัน เป็นระยะที่เกิดขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีเชื้ออยู่ในเลือดเป็นจำนวนมาก และแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย ในช่วงแรกอาจมีอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกายจากการติดเชื้อ…