หูดหงอนไก่ (Genital warts)

หูดหงอนไก่ (Genital warts)

หูดหงอนไก่ (Genital warts) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มๆ มีผิวขรุขระคล้ายหงอนไก่ ขึ้นที่บริเวณอวัยะเพศ สามารถพบได้ทั้งในชายและหญิง สาเหตุหลักพบว่า 90% มาจากการติดเชื้อไวรัส (Human Papilloma Virus : HPV)

หูดหงอนไก่สาเหตุมาจากอะไร ?

สาเหตุของหูดหงอนไก่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีเชื้อชนิดนี้กว่า 200 สายพันธุ์ย่อย บางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดที่ผิวหนัง บางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ บางสายพันธุ์ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์และทางเดินอุจจาระ สำหรับเชื้อที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่นั้น พบว่าประมาณ 90% เกิดจากสายพันธุ์ย่อย 6 และ 11

อาการหูหงอนไก่

หูดหงอนไก่ ทำให้เกิดติ่งเนื้อผิวขรุขระ ลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ไม่คัน ไม่ระคายเคืองสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถขึ้นได้ที่องคชาติ หนังหุ้มปลาย ทวารหนัก ช่องคลอด ปากมดลูก หากไม่ทำการรักษาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และเกิดมะเร็งตามมา ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งองคชาติ เป็นต้น

ใครบ้างที่ควรตรวจหูดหงอนไก่ ?

  1. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  2. ผู้ที่มีเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  3. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ
  4. ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
  5. ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน HPV

หูดหงอนไก่ป้องกันได้อย่างไร ?

ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถช่วยป้องกันและรักษาหูดหงอนไก่ได้อย่าง 100% (เนื่องจากหูดชนิดนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก คือ ติดต่อได้จากผิวหนังสู่ผิวหนัง) แต่เราสามารถลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. มีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับคู่นอนของตน
  2. ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพราะจะยิ่งมีโอกาสติดเชื้อเพิ่ม
  3. ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  4. ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV
  5. เมื่อพบรอยโรคที่สงสัยว่าเป็นหูดหงอนไก่ ควรรีบไปพบแพทย์
  6. ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

วิธีรักษาหูดหงอนไก่

  • การทายา เป็นยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก (ไม่ควรซื้อยามาทาเอง ควรจะปรึกษาแพทย์)
  • การจี้ด้วยความเย็น ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบและเจ็บ ระหว่างถูกจี้ หลังจี้แผลอาจพองเป็นตุ่มน้ำ แผลจะค่อย ๆ ยุบแห้งตกสะเก็ดและหายได้เอง แต่อาจต้องจี้หลายครั้งจนกว่าจะหาย
  • การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นการทำลายตุ่มหูดด้วยความร้อน สามารถทำลายหูดได้เด็ดขาดในครั้งเดียว หรือไม่กี่ครั้ง อาจมีแผลเป็นได้
  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอาก้อนหูดออก วิธีนี้ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

Similar Posts